ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ประธานาธิบดีพม่าหารือสร้างสันติภาพกับ KNU
Anonymous

Date:
ประธานาธิบดีพม่าหารือสร้างสันติภาพกับ KNU
Permalink   
 


 

ประธานาธิบดีพม่าหารือสร้างสันติภาพกับ KNU

555000004650801.JPEG

ประธานาธิบดีเต็งเส่ง (ขวา) นอ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU (กลาง) และนายพลมูตู เซ โพ (ซ้าย) เจรจาหารือที่กรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นับเป็นการพบกันครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีพม่าและกลุ่มกบฎกะเหรี่ยง ในความพยายามสร้างสันติภาพกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ. -- AFP PHOTO/D-Princess.
blank.gif

       
เอเอฟพี - ประธานาธิบดีพม่าเจรจาหารือกับกบฎชนชาติกะเหรื่ยงเป็นครั้งแรก วานนี้ (7 เม.ย.) ในความพยายามอย่างหนักของรัฐบาลที่จะเดินหน้าสร้างสันติภาพกับกลุ่มต่อต้าน รัฐบาลที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ
       
       การยุติความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย รวมทั้งข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังทหารของรัฐบาล เป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมโลกต่อการพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเพื่อ เป็นรางวัลแก่พม่า
       
       เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่าระบุว่า ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้หารือกับคณะผู้แทนจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ในเช้าวันเสาร์ (7 เม.ย.) ที่กรุงเนปีดอ หลังคณะผู้แทนกลุ่ม KNU ได้เจรจากับรัฐมนตรีในนครย่างกุ้งเมื่อวันศุกร์ (6 เม.ย.)
       
       "นี่เป็นการหารือกันครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีกับผู้นำ KNU" เจ้าหน้าที่อีกนายหนึ่งที่มีส่วนในการเจรจาสันติภาพ กล่าว
       
       เจ้าหน้าที่คนเดิมระบุว่า ผู้แทนจาก KNU ทั้งหมด 6 คน เดินทางด้วยเที่ยวบินพิเศษมายังกรุงเนปีดอ เมืองหลวงของประเทศ เพื่อรเจรจาหารือครั้งสำคัญนี้เป็นเวลานาน 90 นาที และสมาชิก KNU ยังมีหมายที่จะเข้าพบหารือกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในวันอาทิตย์ (8 เม.ย.)
       
       พม่าได้ลงนามข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฎหลายกลุ่ม ขณะที่การต่อสู้ในรัฐกะฉิ่นยังคงดำเนินอยู่ ที่ส่งผลให้ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพลี้ภัย เป็นอุปสรรคต่อความพยายามสร้างสันติภาพในประเทศ
       
       ทางการพม่าได้เลื่อนการเลือกตั้งซ่อม 3 เขตเลือกตั้งในรัฐกะฉิ่น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนอ้างว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงใน พื้นที่ดังกล่าว
       
       ความมุ่งมั่นที่จะยุติความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศเป็นหนึ่ง ในแผนสันติภาพ 13 ข้อ ที่รัฐบาลและ KNU หารือตกลงกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
       
       แถลงการณ์ร่วมระบุว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในหลักปฏิบัติที่จะรับรองความปลอดภัยของพลเรือน เช่นการจัดหาแหล่งที่อยู่ใหม่ให้กับผู้อพยพย้ายถิ่นภายในประเทศ รวมทั้งการดำเนินการเก็บกู้ระเบิด.

555000003473501.JPEG
ทหารกะเหรี่ยง KNU

KNU.jpg

previousKNU army soldiers march to commemorate the 63rd anniversary of Karen Revolution Day at Oo Kray Kee Township

Karen National Union (KNU) army soldiers march in a procession to kick off celebrations commemorating the 63rd anniversary of Karen Revolution Day at Oo Kray Kee Township in the Karen State, along the Thai-Myanmar border, January 31, 2012 .


-- Edited by buckhumnoy on Sunday 8th of April 2012 05:59:33 AM

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ซูจี” หารือ KNU แก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์

555000004669401.JPEG

นาง อองซานซูจี (ซ้าย) กล่าวแถลงต่อสื่อหลังเสร็จสิ้นการหารือกับคณะผู้แทนจาก KNU ที่บ้านพักของนางซูจีในนครย่างกุ้ง วันที่ 8 เม.ย.-- AFP PHOTO/Soe Than Win.
blank.gif

       
เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าหารือกับกลุ่มกบฎชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงในวันนี้ (8 เม.ย.) นับเป็นการทำหน้าที่ทางการเมืองครั้งแรกของซูจี ตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       นางอองซานซูจีที่ชนะที่นั่งในรัฐสภาเป็นครั้งแรกจากการเลือกตั้งซ่อม เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ได้ใช้เวลาหารืออยู่ร่วม 2 ชั่วโมงกับคณะผู้แทนจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ในนครย่างกุ้ง
       
       ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยกล่าวถึงการหารือครั้งนี้ ว่า เป็นเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการปรองดองในชาติ
       
       นางอองซานซูจีกล่าวว่า เป้าหมายของพรรค NLD คือ การมีเอกภาพในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และเชื่อว่า ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ควรรวมอยู่ในกระบวนการนี้ร่วมกัน
       
       การหารือครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะผู้แทนจาก KNU หารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในกรุงเนปีดอ วานนี้ ที่ถือเป็นการหารือระหว่างกันเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน
       
       พม่าพิจารณาให้ KNU เป็นกลุ่มองค์กรผิดกฎหมาย และกองกำลังทหารของ KNU ต่อสู้กับรัฐบาลมานับตั้งแต่ปี 2492 ในพื้นที่ป่าทางตะวันออกใกล้พรมแดนไทย
       
       KNU ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลพม่าชุดใหม่ในเดือนม.ค. 2555 อันเป็นความหวังของการสิ้นสุดความขัดแย้งที่ยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อย่างถาวร
       
       นางซิบโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU กล่าวว่า KNU ร้องขอให้ประธานาธิบดีเต็งเส่งทบทวนข้อห้ามที่มีกับองค์กร เพราะสถานะของ KNU คือ อันตราย น่าหวาดกลัว และน่าเป็นกังวลต่อผู้คนในประเทศนี้
       
       นางซูจี ที่ระบุว่า จะใช้ตำแหน่งของเธอในฐานะเป็นผู้บัญญัติกฎหมายพยายามที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของ กลุ่มชาติพันธุ์กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวจะดีขึ้นหากไม่มีการห้ามองค์กรใดๆ ในพม่า
       
       สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศนับตั้งแต่ได้รับ เอกราชในปี 2491 และการยุติความขัดแย้งเป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมโลกต่อพม่า
       
       รัฐบาลเดินหน้าลงนามข้อตกลงสันติภาพเบื้องต้นกับกลุ่มกบฎหลายกลุ่ม อันเป็นส่วนหนึ่งในวาระการปฏิรูปประชาธิปไตย แต่การต่อสู้ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศ ขัดขวางความพยายามที่จะสร้างความปรองดองในชาติ
       
       รัฐบาล และ KNU ได้เจรจาข้อตกลง 13 ข้อ เมื่อวันศุกร์ (5 เม.ย.) ที่รวมทั้งหลักปฏิบัติที่จะรับรองความปลอดภัยของพลเรือน และข้อตกลงที่จะดำเนินแผนการสำหรับจัดหาที่อยู่ให้แก่ผู้อพยพย้ายที่อยู่ภาย ในประเทศ และเก็บกู้ระเบิด
       
       ชนเผ่ากะเหรี่ยงเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างน้อยทั้งหมด 135 กลุ่มที่มีอยู่ในพม่า โดยมีประชากรอยู่ประมาณร้อยละ 7 จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ แต่การต่อสู้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ทำให้ประชาชนหลายหมื่นคนต้องลี้ภัยข้ามพรมแดนไปยังฝั่งไทย



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard