ภายหลังมหาวิทยาลัยจำปาสัก สปป. ลาวได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนากับ มหาวิทยาลัยจำปาสัก เพื่อเป็นศูนย์รวมด้านวิชาการให้นักศึกษาและประชาชนผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง พร้อมทำการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับมหาวิทยาลัยจำปาสัก เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2550 ภายใต้ชื่อ "โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน"
ไม่ว่าจะเป็นงานพัฒนาที่ดิน อาทิ การปรับปรุงพื้นที่ภายในแปลงฯ ล้อมรั้ว สร้างทางลำลองในไร่นา ต่อท่อระบายน้ำและถางพื้นที่ งานชลประทาน อาทิ อาคารทดน้ำ ท่อส่งน้ำสร้างสะพาน ถังเก็บน้ำและระบบท่อ งานปศุสัตว์ อาทิ คอกสุกร คอกเป็ด คอกไก่ โดงเก็บและผลิตอาหารสัตว์ งานประมง อาทิ บ่อคอนกรีตและบ่อเพาะเลี้ยง โรงอาคารเพาะฟักและโรงสูบน้ำ งานเกษตร อาทิ การปรับรูปแปลงสาธิต การปลูกพืชชนิดต่างๆ ตลอดจนงานก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์และหอพักนักศึกษา
นอกจากนี้ยังได้จัดฝึกอบรมด้านวิชาการเกษตรแขนงต่างๆ โดยนำคณะอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำปาสักและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสปป. ลาว เข้ามาศึกษาดูงานเกษตรด้านต่างๆ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการบริหารจัดการและการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและบรรลุ วัตถุประสงค์ของโครงการ จากนั้นจึงจะดำเนินการนำวิชาความรู้ในด้านการเกษตรออ
กับเกษตรกรโดยรอบโครงการต่อไป
"เรามีประสบการณ์มาแล้วจากโครงการหลัก 22 ที่เวียงจันทน์ ทำให้งานที่นี่ จึงง่ายและทำได้เร็ว ปัจจุบันเรามีโครงการพระราชดำริที่สปป. ลาวอยู่ 4 โครงการคือ โครงการห้วยซอน-ห้วยซั้วที่หลัก 22 ใกล้นครเวียงจันทน์ โครงการเด็กกำพร้าที่หลัก 67 โครงการเกษตรผสมผสานที่จำปาสักและอีกโครงการที่กำลังเริ่มอยู่ที่แขวงสะหวัน นะเขต" รองเลขาธิการสำนักงานกปร. กล่าว
ขณะที่ ดร.บุญมี พอนสะหวัน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก สปป. ลาวกล่าวเสริมว่ามหาวิทยาลัยจำปาสักมีเป้าหมายในการผลิตบุคลากรป้อนให้กับ แขวงต่างๆ ทั้ง 4 แขวงในเขตลาวใต้ ได้แก่ จำปาสัก สาละ วัน อัตตะปือและเซกอง ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล สปป. ลาว ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำการเปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 5 คณะวิชา ซึ่งที่ผ่านมาสามารถผลิตบุคคลากรมาแล้วกว่า 4 พันคน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ทำการเปิดสอน
"พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 1.2 หมื่นไร่ที่ทางรัฐบาลให้มา ส่วนโครงการแปลงสาธิตการเกษตรผสมผสานที่ร่วมมือกับมูลนิธิชัยพัฒนานั้นมี ประมาณ 3 ร้อยกว่าไร่ เป็นโครงการที่มีความหมายยิ่งในการพัฒนาบุคคลากรในพื้นที่ 4 แขวงภาคใต้ของลาว ใช้เป็นศูนย์ฝึกงานของนักศึกษา ครูอาจารย์และประชาชนที่สนใจ ถือเป็นการริเริ่มที่มีประสิทธิผลสูงและยังมีการขยายผลไปสู่เกษตรกรใน พื้นที่ใกล้เคียงด้วย" รองอธิการบดีคนเดิมกล่าวย้ำ
นับเป็นอีกความสำเร็จของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการร่วมมือระ หว่างสปป. ลาวกับประเทศไทย ภายใต้โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยจำปาสักและมูลนิธิชัยพัฒนา อันนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของประชาชนทั้งสองฝั่งนั่นเอง