อาเซียน'งัดข้อ'ทะเลจีนใต้' 'อากีโน'หัก'ฮุนเซน'งุบงิบแอบอ้างมติ
เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของกัมพูชา กับ ประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของฟิลิปปินส์ เมื่อวันจันทร์(19) งัดข้อกันอย่างเปิดเผยกรณีการจัดการข้อพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลกับจีน กลายเป็นการขโมยซีนการประชุมอาเซียนซัมมิตซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อกระชับ สายสัมพันธ์ทางการค้าและการเมือง กระนั้นก็ตาม เป็นที่คาดว่า อาเซียนจะเดินหน้าเปิดหารือเขตการค้าเสรีขนาดมหึมาแห่งเอเชีย-แปซิฟิกอย่าง เป็นทางการตามกำหนดเดิม ผู้นำ 10 ชาติสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หวังเสนอภาพความสามัคคีเป็นเอกภาพกันในประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ขณะให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน และประธานาธิบดีบารัค โอบามา จากสหรัฐฯ ในระหว่างการหารือระดับผู้นำระหว่างอาเซียนกับพวกประเทศคู่เจรจา ตลอดจนในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อีเอเอส) ประจำปี ทว่า ความพยายามดังกล่าวกลับล้มเหลวก่อนที่ผู้นำอาเซียนจะได้พบกับเวิน จากความขัดแย้งระหว่างกัมพูชา พันธมิตรเหนียวแน่นของปักกิ่ง กับฟิลิปปินส์ กัมพูชาซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปีนี้ แถลงเมื่อวันอาทิตย์ (18) ว่า ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องกันแล้วที่จะไม่ทำให้กรณีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ “กลายเป็นประเด็นระดับนานาชาติ” แต่จะจำกัดวงการเจรจาระหว่างอาเซียนกับจีนเท่านั้น ท่าทีนี้เข้าทางปักกิ่งที่ยืนกรานมาตลอดว่า ประเทศที่เกี่ยวข้องควรหารือกันโดยตรง และฟิลิปปินส์ไม่ควรขอการสนับสนุนจากอเมริกา ทว่า ในวันจันทร์ ประธานาธิบดีอากีโนแห่งฟิลิปปินส์ กลับวิจารณ์นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาอย่างเปิดเผย โดยระบุว่า ผู้นำอาเซียนยังไม่มีฉันทามติในเรื่องนี้ และตนจะพูดถึงประเด็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้บนเวทีโลกต่อไป อัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศแดนตากาล็อก ยังอ้างอิงคำพูดของอากีโนที่กล่าวกับผู้นำอาเซียนอื่นๆ ว่า มะนิลามีสิทธิอันชอบธรรมปกป้องผลประโยชน์ของชาติเมื่อใดก็ตามที่เห็นว่าจำ เป็น การงัดข้อล่าสุดตอกย้ำความไม่ลงรอยกันที่เคยเกิดขึ้นในการประชุม ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน ที่พนมเปญเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งจบลงด้วยการงดออกแถลงการณ์ร่วมครั้งแรกในประวัติศาสตร์รอบ 45 ปี ครั้งนั้น ฟิลิปปินส์และเวียดนามต้องการให้แถลงการณ์ร่วมพาดพิงข้อพิพาทกับจีน แต่ถูกขัดขวางจากกัมพูชาซึ่งเป็นเจ้าภาพการหารือ ทั้งนี้ หลายชาติสมาชิกอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ตลอดจนถึงไต้หวัน ต่างอ้างสิทธิ์ในดินแดนบางส่วนในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญที่สุดของโลกและเชื่อว่าอุดมด้วย เชื้อเพลิงฟอสซิล ทว่า จีนยืนกรานว่า ตนมีสิทธิ์เหนือน่านน้ำดังกล่าวเกือบทั้งหมด ความตึงเครียดคุกรุ่นต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยฟิลิปปินส์และเวียดนามกล่าวหาว่า จีนใช้ท่าทีการทูตแบบแข็งกร้าวเพื่อยืนยันอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้ ตามคำแถลงของ ฉิน กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ในการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียน กับ เวิน เมื่อวันจันทร์ อากีโนได้หยิบยกเรื่องความกังวลของฟิลิปปินส์เกี่ยวกับทะเลจีนใต้ขึ้นมา จริงๆ แต่โฆษกผู้นี้บอกว่า ฟิลิปปินส์พูดถึงเรื่องนี้ในลักษณะกว้างๆ โดยที่ประเทศอื่นๆ นั้นสนใจเฉพาะแต่ประเด็นทางเศรษฐกิจเท่านั้น “ไม่มีประเทศอื่นพูดจาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทุกๆ ประเทศต่างสนใจในเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ, การพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนในภูมิภาคนี้” เขายืนยัน เป็นที่คาดว่า อุณหภูมิความขัดแย้งอาจพุ่งขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็นวันจันทร์เมื่อโอบามาเดิน ทางถึงพนมเปญและเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งกินเวลา 2 วัน โดยที่จะมีผู้นำจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ 10 ชาติอาเซียน หารือด้วย ก่อนหน้านี้โอบามาแสดงท่าทีสนับสนุนฟิลิปปินส์และสร้างความเดือดดาล ให้จีน ด้วยการเรียกร้องให้ประเทศที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกันเกี่ยวกับแนวปฏิบัติใน ทะเลจีนใต้ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย เพื่อใช้กำกับดูแลความประพฤติต่างๆ ของทุกฝ่ายในอาณาบริเวณดังกล่าว สำหรับหนนี้ นักวิเคราะห์มองว่า มีแนวโน้มที่โอบามาจะเรียกร้องเหมือนเดิม รวมถึงเน้นย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการเดินเรือในน่านน้ำแห่งนี้ ด้านเจ้าหน้าที่อาเซียนระบุว่า จะผลักดัน เวิน ในการประชุมครั้งนี้ เพื่อเริ่มการเจรจาระดับสูงระหว่างอาเซียนกับจีนอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับการจัดทำแนวปฏิบัติดังกล่าวโดยเร็ว อย่างไรก็ดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ยังคงยืนยันว่า จีนต้องการสานต่อการเจรจาระดับล่างในประเด็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ นอกจากนั้น แม้ประเด็นข้อพิพาทด้านอธิปไตยปะทุขึ้น แต่คาดว่า ประเทศผู้เข้าร่วมซัมมิตเอเชียตะวันออกจะยังคงมุ่งเน้นการหารือแนวทางในการ ขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อไป โดยอาเซียนมีกำหนดเปิดการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่กับจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการในวันอังคาร (20) และแม้มีข้อพิพาทด้านอธิปไตยระหว่างกัน ทว่า โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุว่า มีแนวโน้มที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้จะหารือเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเขตการค้าเสรี 3 เส้าในวันเดียวกันนั้น
ประชุมอาเซียนปินส์งัดข้อเขมรกรณีพิพาททะเลจีนใต้
การประชุมสุดยอดผู้นำสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ครั้งที่ 21 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ฝ่ายเจ้าภาพพยายามจำกัดการหารือเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ แต่ฟิลิปปินส์แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน... สำนักข่าวต่าง ประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า แห่งประเทศจีน เดินทางไปยังกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการประชุมอาเซียน+3 ในวันนี้ โดยเขาได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีเต็ง เส่ง และได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า ปัญหาพิพาทแย่งชิงดินแดนในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียน จะไม่เป็นกำแพงขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายจากการเปิด เผยของนายฉิน กัง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า นายเหวินยังได้มีข้อตกลงในเรื่องเดียวกันนี้กับประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน แห่งอินโดนีเซีย และนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค แห่งมาเลเซียแล้วเช่นกัน ขณะที่ นายเกา คิม ฮอร์น รัฐมนตรีด้านความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชาระบุว่า เหล่าผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันว่า จะไม่มีการเจรจาในเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้อีกอย่างไรก็ดี รัฐบาลญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ในวันนี้ (19 พ.ย.) ว่า นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ซึ่งขณะนี้อยู่ในกัมพูชา กังวลอย่างยิ่งว่าปัญหาพิพาทในทะเลจีนใต้จะส่งผลกระทบต่อความสงบสุขและ เสถียรภาพในเอเชีย ส่วนประธานาธิบดีเบนิโญ่ อากีโน แห่งฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหัวหอกในการยกประเด็นปัญหาพิพาทกับจีนเข้าหารือในที่ ประชุม ออกมาปฏิเสธว่า ไม่เคยตกลงใดๆ ตามที่นายเกา คิม ฮอร์น กล่าวอ้างทั้ง นี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ จะเดินทางจากประเทศพม่าไปกัมพูชาในช่วงเย็นวันนี้ และจะเข้าร่วมประชุมอาเซียนพร้อมๆ กับนายเหวิน ในวันอังคารนี้