ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ปัญหาชิงน่านน้ำ อาเซียน "ไม่ง่าย" สำหรับจีน
Anonymous

Date:
ปัญหาชิงน่านน้ำ อาเซียน "ไม่ง่าย" สำหรับจีน
Permalink   
 


ปัญหาชิงน่านน้ำ อาเซียน "ไม่ง่าย" สำหรับจีน

555000015068301.JPEG

 

ทัน ดุง จากเวียดนาม บารัก โอบามา จากสหรัฐฯ และฮุนเซน จากกัมพูชา (ภาพอีเอพี)
blank.gif

       เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - นายฉิน กัง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ถากถางการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในสัปดาห์ที่แล้วว่า ไม่ต่างอะไรกับเกมเลขคณิต ที่เบื้องหลังการมีส่วนร่วมของผู้นำชาติต่าง ๆ มีประเด็นปัญหาพิพาทน่านน้ำในทะเลระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนแฝงอยู่
       
       ฉินเผยในเบื้องต้นว่า มีบางสิ่งต้องการแทรกเพิ่มเข้ามาในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 10 บวก 8 ซึ่งได้แก่ ชาติสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และมหาอำนาจอีก 8 ชาติ รวมทั้งจีนและสหรัฐฯ
       
       จากนั้นฉินก็กล่าวว่า ตัวเลขในชาติอาเซียนเอง 2 ตัว ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าฉินหมายถึงฟิลิปปินส์กับเวียดนาม ที่ปักกิ่งเกรงว่าจะจุดชนวนความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ให้กลายเป็นประเด็นใน ระดับเวทีสากล
       
       "และใครล่ะที่หนุนอยู่เบื้องหลังสองชาตินี้" ฉินถางถางในการแถลงข่าวกระประชุมฯ สัปดาห์นี้ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา
       
       เรื่องภายในอาเซียนไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดอีกต่อไป เมื่ออาเซียนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องระหว่างสองมหาอำนาจคือจีนและสหรัฐฯ
       
       จีนเริ่มเผชิญปัญหาท้าทาย จากกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ แม้ว่าจีนและกัมพูชาจะญาติดีกันสักปานใดก็ตาม
       
       กัมพูชาได้รับผลประโยชน์และความช่วยเหลือจากจีน ตลอดจนการพัฒนาต่าง ๆ มหาศาล ก็ถูกประณามว่าเป็นประเทศที่เชื่อฟังคำสั่งจีนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านความขัดแย้งในทะเล ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่า จีนต้องการจัดการปัญหาพิพาทกับประเทศต่าง ๆ แบบตัวต่อตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับจีน
       
       ในเบื้องต้น กัมพูชาได้เล็งเห็นความแตกร้าวทางประวัติศาสตร์ในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศของอาเซียนในเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ในการถกเถียงเรื่องปัญหาในทะเลจีนใต้จนปะทุกลายเป็นความโกรธเกลียดชิงชัง อาเซียนมีกฎมาแต่ไหนแต่ไรว่า ทุกชาติต้องเห็นพ้องต้องกันจึงจะตกลงทำอะไรสักอย่าง ตั้งแต่ก่อตั้งมา 45 ปี รัฐมนตรีไม่สามารถออกข้อกำหนดแม้แต่แถลงการณ์รายวัน
       
       หลังจากแยกย้ายกันไปแล้วในครั้งนั้น ผู้นำหลายคนก็เดินทางมุ่งสู่พนมเปญตัดสินใจผลักดันแผนการปฏิบัติต่อจีนเพื่อ ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น แต่ก็พยายามไม่ให้กระทบกระเทือนต่อประเด็นเศรษฐกิจ การค้าและการบูรณาการอื่น ๆ
       
       Kao Kim Hourn โฆษกกัมพูชาฯ เผยว่า คำประกาศเมื่อวันอาทิตย์ของกัมพูชาและผู้นำอาเซียนที่ตกลงกันว่าจะไม่นำ ประเด็นปัญหาขึ้นสู่เวทีสากล ได้ก่อให้เกิดคำถามมากมาย ประเด็นอาเซียน-จีน น่าจะมีการเจรจาโดยลำพังมากกว่า
       
       ผู้นำที่มาร่วมการประชุมอันได้แก่ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยพันธมิตรจากญี่ปุ่น สหรัฐฯและออสเตรเลีย ก็พยายามแสดงท่าทีต้องการเห็นปัญหาในทะเลจีนใต้ลดความตึงเครียดลง ได้ออกข้อตกลงร่วมกันอย่างกลาง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะของจีนหลังจากที่จีนล็อบบี้ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
       
       ทว่าข้อตกลงที่กัมพูชาประกาศในเวลาไม่ถึงวันนั้น ผู้แทนจากฟิลิปปินส์ นำโดยประธานาธิบดีเบนิกโน อากิโน ถือว่าไม่บริสุทธิ์ และยืนกรานจะนำเรื่องนี้ขึ้นสู่เวทีสากล เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องการคุกคามอธิปไตย
       
       เอกภาพของอาเซียนอาจจะขาดวุ่นวิ่นอีกครั้งในกรณีปัญหาทะเลจีนใต้ ดูเหมือนว่ายังมีประเด็นซ่อนแฝงอยู่เบื้องหลังปัญหาอีกมาก แม้ว่าปักกิ่งจะพยายามสุดกำลังมิให้ประเด็นบานปลายก็ตาม ขณะที่ชาติอาเซียนอื่น ๆ ก็ยืนยันว่าไม่มีการออกข้อตกลงอย่างเป็นทางการเพื่อยุติปัญหา ขณะนี้ยังสามารถถกเถียงอภิปรายกันได้เต็มอัตรา
       
       บรรดาผู้แทนการทูตมุ่งหน้าสู่การประชุมในพระราชวังที่จีนเป็นผู้ สร้างให้กัมพูชา กำแพงผนังโถงมีข้อความสัมพันธ์ยืนยาวกัมพูชา-จีน ซึ่งข้อความดังกล่าวก็ติดอยู่ตลอดช่วงสัปดาห์ แม้ว่าผู้นำอีก 16 ชาติจะได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้เอาออก
       
       หากเล็งกันให้ชัด ๆ บรรดาทหารยศใหญ่น้อยที่เดินตรวจตราบริเวณรอบการประชุมนั้น อาวุธยุทโธปกรณ์ล้วนเป็นของจีน แม้กระทั่งจักรยานยนต์ก็นำเข้าจากจีน
       
       หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกัมพูชาลงข่าวกันอื้ออึง เมื่อนายกรัฐมนตรีเวิน จยาเป่าของจีนลั่นทำสัญญาให้ความช่วยเหลือหลังการพบปะกับฮุนเซนจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนก.ย. ตลอดจนการพัฒนาอย่างถึงพรึกถึงขิง ด้านความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้า ซึ่งทำให้จีนและกัมพูชากลายเป็นคู่ค้าระหว่างประเทศที่กลมเกลียวเหนียวแน่น
       
       ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับจีนเป็นเรื่องยุทธศาสตร์และเป็น ประโยชน์แก่จีน ทว่าเจ้าหน้าที่จีนและนักวิชาการก็ได้ชี้ให้เห็นความท้าทายในภายภาคหน้า เมื่อผู้นำอาเซียนจะเปลี่ยนมือไปเป็นบรูไน
       
       ประเทศเล็กแต่รวยน้ำมันอยางบรูไน ประเทศสุดท้ายที่ยังคงเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทว่ามีศักยภาพสูง จีนคงต้องทบทวนใหม่ เพราะบรูไนก็เป็นหนึ่งในชาติที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์บาง ส่วนด้วย
       
       ในปีหน้าสิงคโปร์ก็จะได้เป็นชาติที่ขึ้นมาทำหน้าที่คุมกระบวนการออก แนวปฏิบัติของอาเซียน ส่วนชาติอาเซียนอื่น ๆ ก็จะช่วยเหลือบรูไนให้พร้อมก่อนขึ้นแท่นเป็นผู้นำอาเซียนต่อไป
       
       ขณะที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้แทนของไทย ก็มีท่าทีลังเลที่จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาตึงเครียดในทะเลจีนใต้ นอกจากจะเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเห็นเอกภาพเป็นสำคัญ ในช่วงที่ความร้อนแรงของการประชุมเพิ่มขึ้น เขาก็ไม่ปรากฏตัวในการแถลงข่าว
       
       ขณะที่คำแถลงของสหรัฐฯ พยายามปลุกชาติอาเซียนให้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางการผงาดของจีน ได้เรียกร้องให้ชาติต่าง ๆ เคารพบรรทัดฐานระหว่างประเทศ สหรัฐฯเรียกร้องให้ชาติอาเซียนร่วมมือและจัดการทางการทูตตอบโต้กับความ ท้าทายจากจีน
       
       ฝ่ายเจ้าหน้าที่จีนและนัก วิชาการก็ชี้ชัดว่า จีนก็จะตัดสินใจกำหนดทิศทางการผงาดของอาเซียนเป็นการตอบโต้ จีนจะต้องไม่ได้รับการคุกคาม การสกัดดาวรุ่งหรือความท้าทายใด ๆ ในทะเลของจีนเอง และปัญหาที่เป็นเรื่องระหว่างจีนกับประเทศต่าง ๆ นั้น มือที่สามจะไม่มีสิทธิ์เข้ามาก้าวก่าย
       
       ศาสตราจารย์จา เต้าจยง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเผยว่า จีนมียุทธศาสตร์ผลประโยชน์กับอาเซียนที่แข็งแรง มั่นคงและสามารถนำพาภูมิภาคได้ แต่ต้องระวังเรื่องการสร้างสันติและการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
       
       ขณะที่บางชาติในอาเซียนต้องการเห็นจีนตระหนักในอำนาจของตน และยอมถอยหลังบ้างเพื่อสันติภาพของภูมิภาค



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard