วิกฤติซีเรีย: เปิดแผนทางทหารของฝ่ายตะวันตก
กองกำลังนานาชาติที่เคลื่อนที่เข้าประจำจุดเตรียมพร้อม ตอบโต้รัฐบาลซีเรียที่ใช้อาวุธเคมีโจมตีกลุ่มต่อต้าน โดยทางสหประชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาวุธเคมี เข้าไปตรวจสอบในซีเรียแล้ว เหลือเพียงรอมติว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร...หลัง จากที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีท่าทีแน่ชัดในการส่งกำลังทหารเข้าแทรกแซงซีเรีย โดยมีการร่างแผนการทั้งเป้าหมาย และมีการเคลื่อนย้ายกำลังทหารบางส่วนเข้าประจำจุดด้านทางทะเล หน่วยนาวิกโยธิน และกองทัพเรือของสหรัฐฯ ได้นำเรือรบขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งเข้าประจำการตามจุดต่าง ๆ ประกอบด้วยเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ประจำด้านฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเรือดำน้ำ ที่สามารถยิงขีปนาวุธได้อีกบางส่วน ขณะที่ฝ่ายกองกำลังของอังกฤษได้จัด เตรียมเรือดำน้ำ ชั้น ทราฟาลการ์ ที่สามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์ได้ โดยใช้ขีปนาวุธร่อนโทว์มาฮอวก์เมื่อสำรวจไปดูกำลังรบภาคอากาศ พบว่า กองทัพสหรัฐฯ ได้จัดเตรียมเครื่องบินรบทิ้งระเบิดจำนวน 2 ลำ ซึ่งอาจใช้ฐานที่อยู่ในประเทศตุรกีและไซปรัส ด้านฝรั่งเศสเองก็ได้เตรียมเครื่องบินรบไว้ด้วยเช่นกัน
กองทัพสหรัฐฯเรือบรรทุกเครื่องบิน ทร.สหรัฐฯ มีเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ 2 ลำ ประจำการในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ เรือยูเอสเอส แฮรี่ เอส.ทรูแมน (CVN 78) ในทะแลแดง และเรือยูเอสเอสนิมิตซ์ (CVN68) ที่บริเวณอ่าวเปอร์เซีย โดยเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าวสามารถส่งเครื่องบิน เอฟ/เอ 18 อี/เอฟ ซุปเปอร์ฮอร์เน็ต จำนวน 4 ฝูงบิน รวมเกือบ 80 ลำ เข้าโจมตีที่หมายทางทหารของซีเรียได้ อีกส่วนหนึ่ง คือ กองเรือเฉพาะกิจของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 2 ที่มีภารกิจลาดตระเวนในทะเลเมดิเตอเรเนียน ประกอบด้วย USS Gravely, USS Ramage, USS Barry, USS Stout, และ USS Mahan อันเป็นเรือเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี ชั้น อาห์เลย์-เบิร์ก สุดยอดของเรือรบกองทัพสหรัฐฯ โดดเด่นด้วยระบบเรดาร์เฟส อาเรย์ SPY-1D และระบบการรบเอจีส (Aegis Combat System) สามารถใช้อาวุธร่อนนำวิถีแบบ BGM-109 โทมาฮอว์คได้ โดยยิงจากแท่นยิงแนวดิ่ง (VLS) แบบ MK.41 บริเวณด้านหน้าของเรือ รวมถึงสามารถสกัดกันขีปนาวุธของซีเรียได้ ด้วยขีปนาวุธพื้น-สู่-อากาศ แบบ RIM-66 SM-2 สแตนดาร์ท มิสไซล์ใน ด้านกำลังทางอากาศ ฐานทัพอากาศ สำหรับกองกำลังทางอากาศของ ทอ.สหรัฐฯ อยู่ที่ฐานทัพอากาศอิงเคอร์ลิค และฐานทัพอากาศอีสเมียร์ ที่ประเทศตุรกี รวมทั้งอาจใช้ฐานทัพอากาศในประเทศจอร์แดนได้ โดยสามารถใช้เพื่อปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตี อย่างเช่น เอฟ-16ซี/ดี และ เอฟ15 อี ที่สามารถใช้ระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียมแบบเจแดม (JDAM) และ อาวุธปล่อยนำวิดีร่อนแบบเจโซว (JSOW) ที่มีความแม่นยำสูง ไว้ใจได้จากสมรภูมิทั้งอัฟกานิสถาน และลิเบีย รวมถึงเครื่องบินแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า E-3 เซ็นทรี (เอแวกส์) และ เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ KC-135 สตราโตแทงก์เกอร์
กองทัพอังกฤษเนื่องจากก่อนหน้านี้มีความตึงเครียดที่ เขตยึดครองของอังกฤษที่ช่องแคปยิบรอลต้า ทำให้ในทะเลเมดิเตอเรเนียน มีกองกำลังเฉพาะกิจทางเรือ ประกอบด้วย เรือรบดำน้ำ ชั้น ทราฟาลการ์ อย่าง HMS Tireless ที่สามารถยิงขีปนาวุธร่อนแบบโทว์มาฮอวก์ได้ของอังกฤษ ก็เคลื่อนตัวเข้าสู่ฐานทัพเรือยิบรอลตาร์ ซึ่งอยู่ติดกับประเทศสเปนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เอชเอ็มเอส อิลัสเตรียส (HMS Illustrious) ที่บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ได้ถึง 22 ลำ ได้แก่ ฮ.ลำเลียงแบบ CH-47 ชินุค ฮ.ลำเลียงแบบ EH-101 เมอร์ลิน ฮ.ปราบเรือดำน้ำแบบ ฮ.ลิงซ์ และ ฮ.กู้ภัยแบบซีคิง รวมทั้ง ฮ.โจมตี เอเอช-64 อาปาเช่ ที่มีขีปนาวุธเฮลล์ไฟร์ สำหรับโจมตีรถถัง และยานเกราะต่าง ๆ รวมถึงกองกำลังติดอาวุธอีก 366 นาย ขณะที่กองเรือคุ้มกันเป็นเรือ ฟริเกต 2 ลำ ได้แก่ เอชเอ็มเอสมอนโทรส (HMS Montrose) และ เอชเอ็มเอสเวสต์มินสเตอร์ (HMS Westminster) โดยทั้ง 2 ลำ เป็นเรือฟรีเกตไทป์ 23 ชั้นดุ๊ก มีขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน ขีปนาวุธ และ เรือรบผิวน้ำขณะที่ กำลังทางอากาศของอังกฤษ สามารถใช้ฐานทัพอากาศ อัคโครทิลี (Akrotiri) ในไซปรัส สำหรับการปฏิบัติการของกองทัพอากาศอังกฤษ ด้วยเครื่องขับไล่โจมตี ยูโรไฟท์เตอร์ และทอร์นาโด สามารถโจมตีที่ตั้งทางทหารด้วยอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบสตอร์มแชโดว์ และ ระเบิดนำวิถี ที่เคยแสดงความสามารถมาแล้วในปฏิบัติการที่ลิเบีย
กองทัพฝรั่งเศสฝรั่งเศสมีเรือบรรทุกเครื่องบิน ชาล์ส เดอ โกลล์ (Charles de Gaulle) จอดอยู่ที่ท่าเรือเมืองตูลอง ทางตะวันตกของเมดิเตอเรเนียน พร้อมเครื่องบินขับไล่โจมีแบบ ราฟาล เอ็ม กอง ทัพอากาศฝรั่งเศส มีการวางกำลังทางอากาศที่ฐานทัพอากาศ อัล-ดาราห์ ในสหรับอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีเครื่องบินโจมตี มิราจ 2000ดี และราฟาล อยู่ที่นั่นทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษมีทางเลือกในการใช้กองกำลังที่หลากหลายแต่จะเน้นประสิทธิภาพให้ตรง ตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงกำลังทหารทางบกอย่างเต็มรูปแบบในการยุติสงครามกลางเมืองในซีเรีย ซึ่งแผนการรบฉบับร่างนี้เป็นแผนความร่วมมือนอกรอบ ที่ยังไม่ได้ผ่านมติความเห็นของหน่วยงานใด
ย้อนดูรูปแบบการแทรกแซงทางทหารที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้กับซีเรีย1. อิรักปี 1991 : กองกำลังทหารนานาประเทศนำโดยสหรัฐฯ ได้รับมอบอำนาจจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการขับไล่กองกำลังของ อิรักออกจากคูเวต2. บอลข่านช่วงปี 1990 : กองกำลังสหรัฐฯ เข้าสมทบเพื่อขับไล่ชาวเซอร์เบียในแถบโครเอเชียและบอสเนีย หลังองค์การสหประชาชาติมีคำสั่งห้ามเข้าออกท่าเรือ จากนั้นสหรัฐฯ ได้นำร่องนโยบายต่อต้านกองกำลังของเซอร์เบีย ในปี 1999 สหรัฐฯ ได้ส่งกำลังเสริมอีก 38,000 จากองค์การนาโตเพื่อป้องกันการสังหารหมู่ในโคโซ โวโดยผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติที่ให้เป็นมาตรการ บังคับใช้3. โซมาเลียปี 1992-1993 : คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดกองกำลังปฏิบัติการทางอากาศ นานาชาติเข้าช่วยเหลือด้านนุษยธรรม แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในโซมาเลีย แต่การเข้าร่วมแบบไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนจบลงด้วยการทำลายล้างของแบ ล็คฮอว์คในปี 1993 ทำให้สหรัฐฯ ถอนกองกำลังออกทั้งหมด4. ลิเบียปี 2011 : ฝรั่งเศส และอังกฤษร่วมกันขอมอบอำนาจการปฏิบัติการทางอากาศจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง สหประชาชาติในการเข้าช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในเมือง Benghazi ประเทศลิเบียในปี 2011 โดยมีจีนและรัสเซียที่ไม่ขอลงคะแนนเสียง แต่ก็ไม่ได้ใช้สิทธิวีโต้ในการคัดค้าน จึงมีการเข้าช่วยเหลือจนกระทั่งอดีตผู้นำลิเบียพันเอกกัดดาฟีถูกโค่นล้มอย่าง ไรก็ตาม ยังคงมีอีกหลายฝ่ายที่กังวลถึงผลลัพธ์ของการแทรกแซงทางทหารครั้งนี้ว่า อาจนำไปสู่สงครามที่ยืดเยื้อและรุนแรงอย่างที่อิรักและอัฟกานิสถาน
ความมั่นคงซีเรียคาด กองทัพต่างชาติ ภายใต้การนำของสหรัฐ อาจเข้าโจมตีได้ทุกเวลา ลั่นพร้อมตอบโต้
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงซีเรียคาด กองทัพต่างชาติ ภายใต้การนำของสหรัฐ อาจเข้าโจมตีได้ ทุกเวลา ลั่นพร้อมตอบโต้ ท่าทีที่มีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ที่เข้ามาตรวจสอบข้อกล่าวหาเรื่องรัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือน เดินทางออกจากประเทศ
การเดินทางออกจากซีเรียของคณะผู้ตรวจสอบยูเอ็นทั้ง 13 ราย เป็นการเปิดทางถึงความเป็นไปได้ที่กองกำลังภายใต้การนำของสหรัฐ จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงสถานการณ์ในซีเรีย หลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ แสดงท่าทีค่อนข้างชัดเจนว่า อาจตัดสินใจใช้กำลังทหารต่อซีเรีย ด้วยการระบุว่า แม้เขาจะเบื่้อหน่ายสงคราม แต่ต้องตอบโต้รัฐบาลซีเรียที่ใช้อาวุธต้องห้าม ที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตกว่า 1,400 คน
ผู้นำสหรัฐระบุว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมใช้มาตรการที่จำกัดต่อซีเรีย แต่ย้ำว่า เขายังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการใช้กำลังทหารโจมตีรัฐบาลซีเรีย
ทั้งนี้ คณะตรวจสอบจากยูเอ็นจะรายงานตรงถึงนายบัน คี มูน เลขาธิการยูเอ็น และจะชี้แจงข้อสรุปว่า มีการใช้แก๊สพิษโจมตีพลเรือนชาวซีเรีย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา จริงหรือไม่ โดยอ้างอิงหลักฐานจากตัวอย่างที่เก็บได้จากบริเวณที่เกิดเหตุ