ຊັບສິນຂອງຊາດໝົດໄປແລ້ວເຄິ່ງປະເທດ ຍັງຢູ່ລຳດັບ 81 ກະໂພດດອກ
ຖ້າລຸດລົງມາຢູ່ລຳດັບ 5ຫາ6 ຄືປະເທດອື້ນເຂົາ ແລ້ວຈະມີຍັງເຫຼືອປະໄວ້ໃຫ້ລູກຫຼານລາວ?
ຍອ້ນພາກັນໂກງຊາດ
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เผยผลการจัดอันดับขีดแข่งขันประจำปี 2556 ของ 148 ประเทศ ชี้ลาว-พม่าติดโผปีแรก
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (ดับบลิวอีเอฟ) เผยผลการจัดอันดับขีดแข่งขันประจำ ปี 2556 ของ 148 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ปรากฏว่าสวิตเซอร์แลนด์ครองตำแหน่งประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มากที่สุดในโลกไว้ได้ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แม้ดับบลิวอีเอฟระบุว่าสวิตเซอร์แลนด์ต้องผ่อนคลายการควบคุมภาคธนาคารลงบ้าง ก็ตาม
ประเทศที่ติด 10 อันดับขีดแข่งขันสูงที่สุดในโลกปีนี้ ล้วนเป็นประเทศเดียวกับปีที่แล้ว แต่สลับตำแหน่งกัน โดยสิงคโปร์ยังครองอันดับ 2 ไว้ได้ ตามด้วยฟินแลนด์ในอันดับ 3
ส่วนเยอรมนีอันดับ 4 ขยับขึ้นจากอันดับ 6 สหรัฐอยู่อันดับ 5 จากอันดับ 7 สวีเดนอยู่อันดับ 6 ลดลงจาก 4 ฮ่องกงอยู่อันดับ 7 ขึ้นจากอันดับ 9 เนเธอร์แลนด์อยู่อันดับ 8 ลดลงจากอันดับ 5 ญี่ปุ่นอยู่อันดับ 9 ขึ้นจากอันดับ 10 อังกฤษอยู่อันดับ 10 ร่วงลงจากอันดับ 8
ความสามารถด้านนวัตกรรมช่วยให้สหรัฐพยุงขีดแข่งขันตัวเองขึ้นมาหลังจากลด ลงมาตลอด 4 ปีก่อนหน้านี้ อีกทั้งขีดแข่งขันของสหรัฐยังดีขึ้นแม้มีความวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของ เศรษฐกิจมหภาค
ดับบลิวอีเอฟประเมินขีดแข่งขันจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข การศึกษา ขนาดของตลาด และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค ทั้งยังทำการสำรวจความเห็นผู้นำภาคธุรกิจ ประเมินประสิทธิภาพและความโปร่งใสของรัฐบาลด้วย
สำหรับไทยนั้น ได้รับการจัดให้อยู่อันดับ 37 จากปีที่แล้วซึ่งอยู่อันดับ 38 และขยับจากปี 2254 ซึ่งอยู่อันดับที่ 39 รายงานระบุว่าแม้มีการปรับปรุงขึ้นแต่การท้าทายยังมีอยู่มากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสถียรภาพทางการเมืองและนโยบาย กฎระเบียบราชการที่มากเกิน การทุจริต ความวิตกด้านความปลอดภัย และความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
ส่วนสาธารณสุขที่ไม่ค่อยดี เห็นได้จากการอยู่อันดับ 74 รวมถึงการศึกษา ยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่ดึงรั้งขีดแข่งขันของไทยและเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ อย่างเร่งด่วน ด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีของไทยก็ยังต่ำ
ในแง่บวกนั้น ไทยได้อันดับดีในด้านสภาพแวดล้อมสำหรับเศรษฐกิจมหภาค การที่ไทยได้อันดับดีด้านสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคเป็นผลจากสถานการณ์ทางการ เงินที่เอื้ออย่างยิ่ง อัตราการออมที่สูง อัตราเงินเฟ้อไม่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่ค่อนข้างดีซึ่งอยู่ที่ประมาณ 44% เมื่อปีที่แล้ว
นอกจากนั้น การขยับอันดับของไทยยังเป็นผลจากพัฒนาการทางการเงิน ประสิทธิภาพของตลาด อย่างไรก็ตาม ไทยยังสามารถปรับปรุงตัวเองได้ในหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมการแข่งขันในประเทศ
ส่วนประเทศเพื่อนบ้านไทยอย่างอินโดนีเซียพุ่งขึ้นมา 12 อันดับอยู่ที่ 38 ได้แรงหนุนจากโครงสร้างพื้นฐานที่ทะยานขึ้น 17 อันดับ ฟิลิปปินส์พุ่งขึ้น 6 อันดับมาอยู่ที่ 59 เวียดนามขยับขึ้น 5 อันดับมาอยู่ 70
มาเลเซียขยับขึ้น 1 อันดับมาอยู่ 24 ขณะที่ปีนี้เป็นปีแรกที่ลาวกับพม่าติดอันดับ โดยลาวอยู่ที่ 81 พม่าอยู่ที่ 139เกาหลี ใต้ร่วงลง 6 อันดับ ไปอยู่ที่ 25 เพราะกลไกตลาดเงินที่ไม่ค่อยดีนัก รวมถึงคุณภาพของสถาบันต่างๆ และตลาดแรงงานที่ไม่ยืดหยุ่น ด้านจีนยังอยู่อันดับที่ 29 ไต้หวันอันดับ 12 อินเดียลดลง 1 อันดับไปอยู่ที่ 60 รัสเซียขยับขึ้น 3 อันดับไปอยู่ที่ 64 เพราะสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ดีขึ้น
ສ່ວນລາວ ເຮົາມີສອງປັດໃຈໃຫຍ່ໆທິເຮັດໃຫ້ລາວຍັງຫລ້າຫລັງ ຄື: 1. ລະບົບການສຶສາການຮຽນການສອນ ຍັງບໍໄດ້ມາດຕະຖານສາກົນ ຍັງເປັນມາດຕະຖານລາວ ຍ້ອນສອນໃຫ້ຮັກຜູ້ນຳ ຮັກບົບຫລາຍໂພດ.
2. ລະບົບຍັງເອື້ອອຳນວຍໃຫ້ມີການຍັກຍອກສໍ້ໂກງງ່າຍ ບໍມີການຈັງກຸມຄຸມຂັງ ປະຕິບັດໂທດພວກທີ່ສໍ້ໂກງ ເລືອງຄຸນນະທຳຂອງຄົນເຮັດວຽກບໍມີ.