ทางหลวงสาย 1A ยาว 142 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการ 91.5 ล้านดอลลาร์
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการลาวกับจีนได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างทางหลวงสำคัญสายหนึ่งเพื่อ เชื่อมเดินแดนที่ลี้ลับที่สุดอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือของลาว กับมณฑลใหญ่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยเชื่อว่าจะเป็นเส้นทางการค้าขายแลกเปลี่ยนเปลี่ยนสินค้า และการลงทุน เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่าง 2 ประเทศ และอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ทางหลวงสาย 1A ยาว 142 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการ 91.5 ล้านดอลลาร์ ในนั้น 95% เป็นเงินกู้จากรัฐบาลจีน อีก 5% เป็นเงินสมทบจากงบประมาณของรัฐ หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน ถนนที่จะสร้างขึ้นนี้เป็นแนวของทางหลวง 1A แต่เดิม เริ่มจากเมือง (อำเภอ) ผ่งสาลี ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวง (จังหวัด) กับเมืองบุญเหนือ และเมืองงอด ตรงไปยังด่านลานตุ่ย (Lantoui) ชายแดนแขวงหลวงน้ำทา กับเมืองผู่เอ๋อ (Puer) มณฑลหยุนหนันของจีน หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการรายงาน ถนนมีหน้ากว้าง 16 เมตร และลดลงเหลือ 7 เมตร ในช่วงที่ตัดผ่านท้องถิ่นชนบท การก่อสร้างดำเนินการโดยบริษัทวิศวกรรมอนุรักษ์น้ำและเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ หมายเลข 3 มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong No. 3 Water Conservancy and Hydroelectric Engineering) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 54 เดิอน บริษัทดังกล่าวเริ่มสำรวจและออกแบบก่อสร้างมาตั้งแต่เดือน พ.ย.2552 และเซ็นสัญญาก่อสร้างกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาว ในเดือน ต.ค.2554 ต่อมาในช่วงกลางเดือน มี.ค.ปีนี้ กระทรวงการเงินได้เซ็นความตกลง “ปล่อย” เงินกู้กับรัฐบาลจีนผ่านธนาคารนำเข้าและส่งออกของจีน สื่อของทางการกล่าว พิธีวางศิลาฤกษ์จัดขึ้นที่เมืองบุญเหนือ โดยมี นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี นายฝางฉีเชา (Fang Qichao) ผู้อำนวยการกลุ่มบริษัทก่อสร้างมณฑลกวางตุ้ง นายคำเจน วงโพสี เลขาธิการพรรคแขวง/เจ้าแขวงผ่งสาลี กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในช่วงหลายปีมานี้ จีนได้ช่วยเหลือลาวเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในภาคเหนือของลาว ซึ่งรวมทั้งถนน สะพาน และสนามบิน ขณะที่นักลงทุนจากจีนจำนวนมากเข้าลงทุนทั้งในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและ บริการ จีนได้ประกาศให้มณฑลหยุนหนันเป็น “หัวสะพาน” ในการติดต่อด้านการค้า และการลงทุนกับกลุ่มอาเซียน ซึ่งการค้าระหว่าง 2 ฝ่ายมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจจีนเป็นอย่างยิ่ง ทางหลวงสาย 1A แห่งนี้กำลังจะเป็นเส้นทางสายหลักเพียงแห่งที่ 2 ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน กับลาว ถัดจากทางหลวงสาย A3a ระหว่างชายแดนแคว้นสิบสองปันนา กับแขวงแขวงหลวงน้ำทาผ่านดินแดนลาวเข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.เชียงราย.
ຢືມຈີນ -ຈີນເປັນຜູ້ສ້າງ-ເງີນທີ່ຢືມມາ ກັບຄືນໄປຈີນ
ທ່ານຄິດວ່າ ໃຜໂງ່ ໃຜສະຫລາດ ?
Anonymous wrote:ຢືມຈີນ -ຈີນເປັນຜູ້ສ້າງ-ເງີນທີ່ຢືມມາ ກັບຄືນໄປຈີນທ່ານຄິດວ່າ ໃຜໂງ່ ໃຜສະຫລາດ ?
ໂງ່ຫຼືຈ້າ ກໍຕ້ອງໄດ້ຍ້ອງພັກລັດວ່າສລາດສ່ອງໃສ ຈື່ໄວ້ເດີ້ພີ່ນ້ອງລາວໃນເອີຍ,
ຖ້າບໍໍ່ດັ່ງນັ້ນແມ່ນຫາຍສາບສູນແບບທ່ານສົມບັດສົມພອນ. ເຫັນພັກລັດສະ
ແຕກແດກປອດເງິນຫລວງຈົນບໍ່ມີເງິນເດືອນຈ່າຍໃຫ້ພະນັກງານລັດກລໃຫ້
ເຮັດຫູໜວກຕາບອດເອົາ ຫລືກໍໃຫ້ຕູ່ໃສ່ປະຕິການລັກເຂົ້າມາສໍ້ລາດບັງຫຼວງ
ແລະຂາຍສັບສົມບັດຂອງຊາດແລະປະຊາຊົນກິນ. ຢ່າແທ້ໆອັນປະນາມພັກລັດ
ນັ້ນ ພໍອົດໄດ້ກໍໃຫ້ມິດໄປຊື່ໆໂລດ ເພື່ອຄວາມຢູ່ລອດຂອງຕົນເອງແລະຄອບຄົວ.
ພັກສະຫລາດສອ່ງໃສແທ້,ແຕ່ວ່າຄົນໃນພັກສ່ວນຫລາຍ
ຮຽນບໍ່ຈົບປະຖົມເຊັ່ນສຫຈຸມມະລີ,ສຫທອງສິງ
ຄົນຈີນຫຼາຍແສນຄົນຄົງມາຢູ່ເຕັມສອງຝາກທາງ ແລະ ເປັນເຈົ້າທີ່ດິນ ຫຼາຍ ແສນເຮັກຕາແນ່ນອນ.
ບໍ່ແມ່ນເລື້ອງໂງ່ ຫລື ສະຫລາດ ມັນເປັນເງື່ອນໄຂຂອງປະເທດຜູ້ໃຫ້ກູ້ຢືມ ຢືມປະເທດໃດກໍ່ຕ້ອງແມ່ນຜູ້ຮັບເຫມົາປະເທດນັ້ນມາເຮັດ ເວັ້ນເສຍແຕ່ກູ້ຢືມຜ່ານສະຖາບັນການເງີນເທົ່ານັ້ນທີ່ໃຫ້ມີການປະມູນທົ່ວໄປ ຕົວຢ່າງ ທາງເລກ9 ຢືມຍີ່ປຸ່ນກໍ່ແມ່ນຍີ່ປຸ່ນຮັບເຫມົາ ຂົວຂ້າມນ້ຳຂອງໄຊຍະ ເກົາຫລີໃຫ້ຢືມ ກໍ່ແມ່ນເກົາຫລີຮັບເຫມົາ ຄັນບໍ່ເຮັດຕາມເງື່ອນໄຂເພິ່ນກໍ່ບໍ່ໃຫ້ຢືມ