สหประชาชาติและสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์(6) เรียกร้องให้ดำเนินการสืบสวนรายงานของรอยเตอร์ที่พบว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคน เข้าเมืองของไทยขนชาวโรฮิงญาให้แก๊งค้ามนุษย์กลางทะเล ขณะที่ประเด็นนี้ก็ส่อให้อเมริกาลดระดับไทยสู่ขั้นต่ำสุดด้านค้ามนุษย์และ อาจมาซึ่งโดนมาตรการคว่ำบาตรบางอย่าง รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี(5) อ้างข้อมูลการสืบสวนยาวนาว 2 เดือนใน 3 ประเทศ เผยให้เห็นว่ามีการลอบนำตัวเหล่าผู้ลี้ภัยโรฮิงญาจากศูนย์กักกันผู้อพยพของ ไทย ขายให้กับขบวนการค้ามนุษย์และส่งมอบกันกลางทะเล จากนั้นชาวโรฮิงยาเหล่านี้ก็จะถูกพาไปยังภาคใต้และกักขังในค่ายลับกลางป่า ติดกับชายแดนมาเลเซียจนกว่าญาติๆจะยอมจ่ายเงินค่าไถ่ ด้วยบางส่วนถูกทุบตีและบางคนก็ถึงขั้นเสียชีวิต "ข้อกล่าวหานี้จำเป็นต้องมีการสืบสวนอย่างเร่งด่วน" นางวิเวียน แทน โฆษกหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าวในถ้อยแถลง "เราได้ร้องขอประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้เสมอมา ต่อมาตรการปกป้องชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัย ในนั้นรวมถึงป้องกันการถูกทำทารุณและแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง" ด้านสหรัฐฯก็ออกเรียกร้องแบบเดียวกันในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาว่า "เราทราบถึงรายงานที่กล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขาย ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาแก่ขบวนการค้ามนุษย์" แมรี ฮาร์ฟ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอเมริการะบุ "เราเรียกร้องรัฐบาลไทยดำเนินการสืบสวนอย่างจริงจังและโปรงใส่ในประเด็นนี้" รอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เกี่ยวกับค่ายคุมขังลับๆ ว่า มีค่ายแบบนี้อยู่จริง แต่นายตำรวจไทยยืนยันว่าไทยได้สอบสวนและดำเนินคดีกับพวกค้ามนุษย์ และเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือแล้วหลายราย นอกจากนี้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ยอมรับว่ามีนโยบายอย่างไม่เป็นทางการในการเนรเทศชาวโรฮิงญากลับไปยังพม่า จริง โดยเรียกว่าเป็นแนวทางปกติหรือทางเลือกที่ 2 แต่เขาก็บอกว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้ได้ลงนามในหนังสือเมื่อพวกเขาตอบตกลงเดิน ทางกลับพม่า อย่างไรก็ตามรอยเตอร์บอกว่าจากที่ได้เห็นเอกสารเหล่านั้นไม่มีการแปลเป็น ภาษาโรฮิงญาแต่อย่างใด "ในการควบคุมตัว จำเป็นต้องมีการแจ้งทางเลือกต่างๆแก่พวกเขาในภาษาที่คนเหล่านั้นเข้าใจ" โฆษกหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าว "การตัดสินใจใดๆควรเป็นไปตามสมัครใต และพวกที่เลือกออกจากค่ายก็ควรได้รับการปกป้องจากการถูกละเมิดและการหา ประโยชน์จากพวกค้ามนุษย์" ข้อมูลระบุว่า ในปี 2013 ไทยได้จับกุมผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดเกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าชาวโรฮิงญา ได้ 9 ราย แต่ยังไม่มีรายใดถูกตัดสินว่ามีความผิด และเจ้าหน้าที่ 1 ใน 2 รายที่ถูกจับกุมก็ถูกถอนข้อหาในเวลาต่อมา รายงานกล่าวว่า ข้อมูลการจับกุมดำเนินคดีในไทยเผยให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายผ่อนคลายลง โดยสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทีไอพี) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประจำปี 2013 พบในปี 2012 ไทยดำเนินคดีผู้ต้องสงสัย 27 ราย ลดลงจาก 67 ราย ในปีก่อนหน้านี้ และในจำนวน 27 ราย มีเพียง 10 ราย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ 1 ราย ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด อีกด้านหนึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอชต์ ซึ่งมีฐานบัญชาการอยู่ในนิวยอร์ก ก็ออกมาประณามไทยต่อการส่งมอบชาวโรฮิงกาแก่ขบวนการค้ามนุษย์ และเตือนว่ามีความเป็นไปได้ที่ ไทย อาจถูกลดระดับในบัญชีบังคับใช้กฎหมายค้ามนุษย์แย่ที่สุดในโลกของสหรัฐฯ หากมีการลดระดับจริงก็จะเป็นผลให้ ไทย ชาติพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯและประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หล่นไปอยู่ในระนาบเดียวกับ เกาหลีเหนือและอิหร่าน ชาติที่มีการต่อสู้ปัญหาค้ามนุษย์ย่ำแย่ที่สุดของโลก และเสี่ยงเจอมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกา "รัฐบาลไทยจำเป็นต้องต้องชี้แจงต่อเรื่องนี้แก่ประชาคมนานาชาติอย่างจริง จัง" ฟิล โรเบิร์ทสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอชต์ ประจำภูมิภาคเอเชียระบุ ทางกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กำลังรวบรวมข้อมูลสำหรับรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์(Trafficking In Persons) ครั้งต่อไป ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในเดือนมิถุนายนปีหน้า ซึ่ง ไทย เสี่ยงถูกลดระดับสู่ (Tier 3) ถือเป็นระดับต่ำสุด เว้นแต่ว่าไทยจะดำเนินความพยายามอย่างมีนัยสำคัญเพื่อกำจัดการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ การอยู่ในระดับ 3 ทางทฤษฎีจะทำให้ประเทศนั้นๆ เสี่ยงต่อการถูกสหรัฐลงโทษอาจด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าหรือระงับความช่วย เหลือ แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐซึ่งเป็นมิตรเก่าแก่ของไทยอาจไม่ใช้มาตรการลงโทษกับไทย ทว่าการตกอยู่ในระดับเลวร้ายที่สุดน่าจะสร้างความขายหน้าแก่รัฐบาลไทยที่ กำลังวิ่งเต้นอย่างหนักเพื่อให้ได้เก้าอี้สมาชิกหมุนเวียนในคณะมนตรีความ มั่นคงแห่งสหประชาชาติ