ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีแรงงานชาวเวียดนามจำนวนมากเดินทางเข้าไปทำงาน ในฝั่งลาวเพื่อช่วยเหลือในโครงการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยกระทรวงแรงงาน ผู้ทุพพลภาพ และกิจการสังคมของเวียดนาม ระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานชาวเวียดนามทำงานอยู่ในลาวประมาณ 13,500 คน และคาดว่าในปี 2558 จะมีจำนวนมากกว่า 20,000 คน รายงานของสมาคมนักลงทุนชาวเวียดนามในลาวระบุว่า ชาวเวียดนามเกือบ 7,000 คน เป็นพนักงานในกลุ่มบริษัทฮว่างแอ็งซาลาย บริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ ฟุตบอล และเหมืองแร่ ส่วนกลุ่มบริษัทยางเวียดนาม มีแรงงานชาวเวียดนามทำงานอยู่เกือบ 1,000 คน และบริษัทซองดา คอร์เปอเรชั่น มีแรงงานชาวเวียดนามราว 600 คน และจากรายงานของบรรดากิจการของชาวเวียดนามที่ลงทุนในลาวพบว่า แรงงานไม่มีฝีมือชาวเวียดนามที่ทำงานในลาวจะได้รับค่าแรงเฉลี่ย 250 ดอลลาร์ต่อเดือน ขณะที่แรงงานฝีมือจะได้รับค่าแรงประมาณ 500 ดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากเงินเดือนแล้ว แรงงานเหล่านี้ยังได้ค่าเช่าที่พักและสิทธิประโยชน์จากนโยบายประกันสังคมและ สุขภาพของเวียดนาม รวมทั้งระบบวันหยุด รองผู้อำนวยการกรมแรงงานต่างประเทศของเวียดนามกล่าวว่า แรงงานชาวเวียดนามในลาวช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขนงพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งยังช่วยตอบสนองความต้องการของโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ นอกจากแรงงานชาวเวียดนามถูกส่งไปลาวผ่านช่องทางหลักแล้ว ยังมีแรงงานส่งไปจากจังหวัดต่างๆ ของเวียดนามที่มีพรมแดนติดกับลาว เช่น จ.เหงะอาน และจ.ห่าติ๋ง โดยจ.เหงะอาน มีพรมแดนติดต่อกับ 3 แขวงของลาว คือ แขวงบอลิคำไซ แขวงเชียงขวาง และแขวงหัวพัน เป็นความยาว 419 กิโลเมตร มีกิจการมากกว่า 50 แห่ง เกี่ยวข้องในการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังลาว หรือเกี่ยวข้องกับการสำรวจแร่ แปรรูปไม้ ผลิตไวน์ ถลุงเหล็ก ป่าไม้ การท่องเที่ยว กิจการรถบรรทุกขนาดเล็ก ผลิตผลทางการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค คาดว่ามีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 70 ล้านดอลลาร์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานของเวียดนาม กล่าวว่า เวียดนามหวังที่จะลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านแรงงานฉบับใหม่ระหว่างสอง ประเทศที่จะนำไปสู่การจัดหาแรงงานชาวลาวให้กับบริษัทของเวียดนามที่ดำเนิน กิจการอยู่ในลาว และบริษัทของเวียดนามจะให้การสนับสนุนโครงการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อช่วยพัฒนา คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของลาว.
ໃນປີ 2020 ຫວຽດນາມຢຶດທັງປະເທດເລີຍ ຂ້ອຍກໍຢາກຮູ້ຄື
ກັນວ່າ ພີ່ນ້ອງລາວໃນຈະຄິດແນວໃດ? ກັບບັນຫານີ້.....!
ໂຮງຮຽນວິຊາຊີບ 163 ແຫ່ງໃນລາວ ສາມາດຜະລິດແຮງງານໄດ້ 15000 ຄົນຕໍ່ປີ
ເທົ່ານັ້ນ ເພິ່ນວ່ານັກຮຽນສ່ວນຫຼາຍຢາກຮຽນແຕ່ຂະແໜງອັກສອນສາດແລະ
ເສດຖະສາດ ບໍ່ມີໃຜຢາກຮຽນເປັນນາຍຊ່າງເຮັດວຽກໃນໂຮງງານຈຶ່ງເຮັດໃຫ້ຂາດ
ແຄນແຮງງານ.
ຈົບ 1,5000 ຄົນຕໍ່ປີ
ປີນີ້ພັກລັດຮັບເອົາແຕ່ 5,000ຄົນ
ອີກ 1,0000ຄົນ ໃຫ້ເຂົາເຈົ້າໄປຫາງານຢູ່ໃສທຳ
ມັນແມ່ນນະໂຍບາຍກືນກິນຊາດລາວຂອງວຽດນາມຕິເບ໊າະ !