ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ເຈົ້າໜ້າທີ່ດ່ານຂົວ ໜອງຄາຍລວຍຜິດປົກກະຕິ
Anonymous

Date:
ເຈົ້າໜ້າທີ່ດ່ານຂົວ ໜອງຄາຍລວຍຜິດປົກກະຕິ
Permalink   
 


จนท. ด่านสะพานฯ หนองคายรวยผิดปรกติ

558000011368201.JPEG

 

ภาพวันที่ 30 มี.ค.2551 หรือเมื่อกว่า 7 ปีที่แล้ว เป็น "สาง" หรือ คลังสินค้าของกรมภาษี กระทรวงการเงิน ที่บริเวณด่านสะพานมิตรภาพ ด้าน จ.หนองคาย ซึ่งปีนี้โลกออนไลน์ของชาวลาวร้องเรียนกันหนาหู เจ้าหน้าที่สรรพากรที่นี่ รวยกันอู้ฟู่ มีรถหรูราคาแพงขับ มีที่ดินกันมากมาย และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ได้ยืนยันต่อสาธารณชน มา 2 ครั้งแล้วว่า มีการตรวจสอบอยู่เป็นปรกติ (แต่ไม่เห็นใครรวยผิดปรกติ). -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเงินของลาว กล่าวในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า กระทรวงฯ จะเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติหน้าที่ของบรรดาเจ้าหน้าที่ในแขนงงานของตนให้มาก ยิ่งขึ้น หลังจากกระแสสังคมกดดันอย่างหนัก ท่ามกลางเสียงร้องเรียนอย่างหนาหูว่า เจ้าหน้าที่รัฐในแขนงการเงิน มีความร่ำรวยอย่างผิดปรกติ โดยไม่ทราบแหล่งที่มาของรายได้
       
       ก่อนหน้านั้น รมช.คนเดียวกัน เคยบ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำตอบคำถามของสมาชิกสภาแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ แบบตรงไปตรงมา โดยระบุแต่เพียงว่ากระทรวงวงมีขั้นตอนตรวจตรากำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่วนนี้อยู่แล้ว
       นายสีลา พอนแก้ว ให้สัมภาษณ์ที่สภาแห่งชาติ วันอาทิตย์ 27 ก.ย. รับปากจะเพิ่มการเข้มงวดกวดขันเรื่องนี้เ หลังจากมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ ที่กลาวหาว่าพนักงานจำนวนหนึ่งร่ำรวยผิดปรกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขนงจัดเก็บภาษีอากร และ แขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สื่อของทางการรายงาน
       สังคมออนไลน์ระบุว่า เจ้าหน้าที่สรรพากรจำนวนหนึ่งที่ด่านสะพานมิตรภาพลาว-ไทย จ.หนองคาย กับ ด่านท่านาแล้ง มีความร่ำรวยขึ้นผิดปรกติมาก "มีรถยนต์ราคาแพงขับ มีที่ดินมาก ทั้งๆ ที่เป็นพนักงานรัฐกร ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวอาจจะได้มาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ใช้ตำแหน่งหน้าที่แบบไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย"
       รัฐมนตรีลาวกล่าวว่า ปัญหาร่ำรวยผิดปรกติของพนักงานรัฐ "เป็นปัญหาโดยรวมของกระทรวงการเงิน" และ ที่ผ่านมาคณะกรรมการกระทรวงฯ ได้ลงตรวจสอบพนักงานเป็นปรกติ หากพบเห็นการกระทำผิด ก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่างเข้มงวด พนักงานแขนงภาษีอากร ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา รายงาน
       นายสีลากล่าวด้วยว่าข้อมูลต่างๆ จากโลกออนไลน์มีส่วนสำคัญ กรมภาษีอากรได้นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจสอบนักงาน หรือ กลุมเป้าหมายต่างๆ ตามระเบียบ และ กระทรวงได้ร่วมกับแขนงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และ ดำเนินการทางวินัยอย่างเคร่งครัด
       อย่างไรก็ตามประชาคมออนไลน์ในลาวจำนวนหนึ่ง ที่ได้อ่าวข่าวชิ้นนี้เขียนแสดงความเห็นว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการรกระทรวงการเงิน ไม่ได้ให้ความหวังอะไรใหม่ ไม่ต่างกับที่เคยคำถามในสภาแห่งชาติ เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รวมทั้งไม่ได้แสดงหลักฐานหรือรูปธรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นการเคร่งครัด แต่ความร่ำรวยผิดปรกติของเจ้าหน้าที่ด่านภาษีสะพานมิตรภาพลาว-ไทย จ.หนองคายนั้นเห็นได้ชัดเจน
       นายเลียน ถิแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน เปิดเเผยในที่ประชุมสภาแห่งชาติ ในเดือน ก.ค.ปีที่แล้วว่า การจัดเก็บภาษีอากรยังรั่วไหลมากมายคิดเป็นเงินมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บจากบริษัทธุรกิจต่างๆ ทั้งในในนครเวียงจันทน์ สะหวันนะเขตและจำปาสัก
       ไม่นานก่อนหน้านั้นทางการได้ติดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีอัตโนมัติ ตามด่านตรวจคนเข้าเมืองหลายแห่ง ช่วยให้ผู้เสียภาษีคิดคำนวณอัตราภาษี และ จ่ายภาษีด้วยสมาร์ทการ์ด ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐเป็นเงินสด รวมทั้งที่ด่านท่านาแล้ง ด่านบ่อแตน แขวงหลวงน้ำทา ด่านสะพานมิตรภาพลาว-ไทย แห่งที่ 4 แขวงบ่อแก้ว และ ที่ด่านวังเตา แขวงจำปาสัก ในอนาคตจะติดตั้งระบบนี้่ที่ทุกด่านชายแดน

558000011368202.JPEG

 

บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่านาแล้ง เชิงสะพานมิตรภาพลาว-ไทย เวียงจันทน์-หนองคาย ประตูใหญ่เข้าออกประเทศ ทั้งคนและสินค้า ทั้งสินค้าที่ผ่านระบบและสินค้าที่ "หิ้ว" เข้าออก ชาวออนไลน์ในเวียงจันทน์บ่นกันมากว่า เจ้าหน้าที่ที่นี่มีนอกมีใน บางคนถึงกับถ่ายคลิป เปิดโปงผ่านโลกออนไลน์ด้วย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.

 แต่กระทรวงการเงินยอมรับ ในเดือน ก.ค.ปีนี้ว่า การจัดเก็บภาษีอากรยังมีปัญหาที่สลับซับซ้อนเรื้อรังมานาน มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบเข้มงวดเฉพาะในส่วนกลาง แต่ในระดับท้องถิ่นนั้น "องค์การปกครองท้องถิ่นยังไม่ได้ประสานสมทบ และ ให้การร่วมมือดีเท่าที่ควร" ยังไม่ได้นำรายรับทรัพย์สิน ค่าทรัพยากรธรรมชาติ และรายรับวิชาการจำนวนหนึ่งรวมศูนย์เข้างบประมาณแห่งรัฐ"
       ดร.เลียน ระบุดังกล่าว ระหว่างปราศรัยรายงานสถานการณ์ด้านการเงินการคลังของประเทศ ต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติในวันที่ 1 ก.ค.2558 ซึ่งเป็นวันแรกของประชุมสมัยที่ 7
       "สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็เนื่องจาก การจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการ การเผยแพร่การโฆษณาระเบียบกฎหมาย ให้สังคมได้เข้าใจ ยังทำไม่ได้ดี ทำให้การบริหารจัดการจัดเก็บ (ภาษี) ประสบความยุ่งยาก" และ "บรรดาบริษัทและกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก ยังหลบเลี่ยงการเสียพันธะอากรให้รัฐ"
       นอกจากนั้นการเก็บภาษีอากรจากแขนงทรัพยากรแร่ธาตุลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาแร่ในตลาดโลกตกต่ำ บริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัท รวมทั้งภูเบี้ยมายนิ่ง เจ้าของสัมปทานเหมืองทอง-เหมืองเงินใภาคเหนือของลาว ได้รายงานผลประกอบการขาดทุน รัฐจึงไม่สามารถจัดเก็บภาษีกำไรได้ ธนาคารต่างๆ ล้วนไม่สามารถมอบอากรกำไรให้รัฐ และส่งเงินปันผลให้รัฐลดลง รัฐวิสาหกิจล้วนมีสภาพขาดทุน รวมทั้งการบินลาว บริษัทโทรคมนาคมลาว (ETL) ด้วย
       
       นายเลียนซึ่งอดีตเป็นเจ้าแขวงไซยะบูลี ระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า ไกลออกไปจากศูนย์กลาง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ยังมีการยกเว้นภาษีอากรนอกกฎหมายกำหนด ยังมีการนำเข้ารถยนต์และพาหนะต่างๆ อย่างไม่ถูกต้องและอย่างแพร่หลาย ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาการ "เบี้ยวภาษี" ที่คงค้างอย่างรัดกุม และ การติดตามจัดเก็บรายรับจากวิสาหกิจการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างเช่นในแขนงเหมืองแร่ของภาครัฐเองก็ยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard