ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ສອງ ອາຈານ ຈຸລາ ວິເຄາະ ຜົລໄດ້ຜົລເສັຍ ຈາກ "ຣົຖໄຟ ໄທຍ-ຈີນ"
Anonymous

Date:
ສອງ ອາຈານ ຈຸລາ ວິເຄາະ ຜົລໄດ້ຜົລເສັຍ ຈາກ "ຣົຖໄຟ ໄທຍ-ຈີນ"
Permalink   
 


2 อาจารย์วิศวะ จุฬาฯ ชำแหละ"รถไฟไทย-จีน"ถามทำไมรัฐบาลต้องรีบ ชี้แผนเร่งรัดเดิมก็มี

14485254511448529198l.jpg

 

ทุกคนในสังคมเห็นตรงกันว่าการพัฒนาระบบรางเป็นเรื่องจำเป็น เราได้เห็นแนวโน้มการพยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะรัฐบาลชุดก่อนที่บรรจุนโยบายการสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้ตั้งแต่ช่วงหาเสียง กระทั่งรัฐบาลปัจจุบันที่แม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ล่าสุดก็พยายามเดินหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่แบบรางมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร โดยปรับรถความเร็วตามแผนเหลือประมาณ 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ตามมาด้วยชื่อเรียก “รถไฟฟ้าความเร็วปานกลาง” ที่ยังหาคำนิยามไม่ได้ในตำราวิศวกรรมระบบราง ซึ่งโดยภาพรวม ก็ดูเหมือนว่าทุกภาคส่วนของสังคมจะเห็นพ้อง ไร้เสียงคัดค้าน

หลายปีที่ผ่านมา คนไทยได้เห็นข่าวขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยตกรางและชนกับรถยนต์ทั่วไป บ่อยมาก ทั้งวิ่งช้า และไม่ตรงต่อเวลา ซึ่งนำไปสู่การถกเถียงในวงกว้างว่ารางรถไฟขนาดความกว้างหนึ่งเมตรอย่างที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันมีขนาดแคบเกินไปควรจะต้องขยายขนาดความกว้างขึ้นใช้เป็นราง ขนาดความกว้างมาตรฐานแบบยุโรปจึงเร่งผลักดันโครงการรถไฟโดยความร่วมมือ ระหว่างไทยกับจีนซึ่งแม้จะมีการเจรจากันแล้วหลายครั้งแต่ก็มีข่าวว่าทางการ จีนเขี้ยวเรื่องดอกเบี้ยมากจนล่าสุดนายกฯต้องส่งรองนายกรัฐมนตรีไปเร่งรัด

เรื่อง นี้ได้รับการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลจะเร่งสร้างรถไฟขนาดราง1.435ไป ทำไม?เพราะเรามีแผนเร่งรัดรถไฟทางคู่ขนาดหนึ่งเมตรอยู่แล้วที่จะทำพร้อมกัน ไปตามแนวเส้นทางที่แทบจะซ้อนทับกันนอกจากนี้คำถามทางวิศวกรรมที่ต้องตอบคือ ขนาดรางที่กว้างขึ้นจะดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าจริงหรือ?

"มติชนออนไลน์"ขออนุญาตพาผู้อ่าน มาจับเข่าคุยกับ รศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมขนส่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และอดีต ผอ.สถาบันการขนส่ง จุฬาฯ และ ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และเคยเป็น รอง ผอ.สถาบันการขนส่ง จุฬาฯ  สองอาจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จะมาชวนตั้งคำถามว่า จริงๆแล้วรางเล็กทำให้รถไฟวิ่งช้าและตกรางบ่อยจริงหรือ รวมถึงอนาคตการพัฒนาระบบรางของไทยควรจะเป็นไปในแนวทางไหนดี 


อาจารย์ประมวล เริ่มต้นการวิจารณ์ประเด็นการขนส่งสาธารณะของไทยในยุคปัจจุบัน โดยระบุว่า การอธิบายโครงการทางวิศวกรรมเรื่องใดๆต้องเริ่มด้วย หลักคิด 3 ประการ คือ หนึ่งจะทำไปเพื่ออะไร?  สองจะทำอย่างไร ใช้เทคนิคใด? และสามจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน ซึ่งคำถามทั้ง 3 ข้อนี้ จะใช้เป็นแนวทางในการหาคำอธิบายสำหรับทุกนโยบายสาธารณะเสมอ

ทั้งนี้ ประเทศไทยติดปัญหา “มายาคติ” เรื่องความกว้างของทางรถไฟ ซึ่งเราถูกเป่าหูกันมาว่า ปัญหารถไฟไทยที่จำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดทาง เพราะปัจจุบันมันตกรางกันบ่อยมาก จึงควรเปลี่ยนขนาดความกว้างของทาง จากความกว้าง 1 เมตร (meter gauge) ไปเป็น ทางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร (standard gauge) ซึ่งควรจะต้องถูกขยายความว่า “ทางมาตรฐาน” ในที่นี้หมายความถึงทางมาตรฐานของยุโรป ซึ่งผู้อ่านควรทราบว่า ในโลกกลมๆ ใบนี้ มีการใช้ทางรถไฟความกว้างต่างๆ มากมาย และการตกรางของรถไฟก็ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับรถไฟที่วิ่งบนทางกว้าง 1 เมตรเท่านั้น อาทิ หากไปตามข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 เกิดเหตุรถไฟตกรางที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ทั้งที่ทางรถไฟมีความกว้างถึง 1.520 เมตร ขณะที่เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ราวเดือนกุมภาพันธ์  รถไฟที่อินเดียก็ตกราง ทั้งๆ ที่ใช้ทางที่มีความกว้าง 1.676 เมตร! 

“ปัญหาก็คือการตกรางของรถไฟ ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับความกว้างของเส้นทางแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ทางรถไฟกว้างแค่ไหน ถ้าดูแลกันไม่ดี รถไฟมันก็ตกรางได้ ประเด็นสำคัญมันเป็นเรื่องของวิธีการเดินรถ และการบำรุงรักษา หากดูแลไม่ดีรถไฟมันก็ตกราง” อ.ประมวลกล่าว

ด้าน อาจารย์สมพงษ์ กล่าวสนับสนุนเพิ่มเติมว่า เมืองไทยยังมีอีกมายาคติหนึ่งคือ รถไฟขนาดรางหนึ่งเมตรมันไม่ดี จริงๆแล้วมันสามารถทำให้ดีได้ ทำให้สวยได้ ทำให้สะดวกก็ทำได้ แม้จะเล็กกว่า แต่ยืนยันว่าสามารถทำให้สวยได้ ประเทศญี่ปุ่นเองที่ใช้รถไฟฟ้าอยู่รอบประเทศ เส้นทางส่วนใหญ่ของเขาเป็นทางขนาด 1.067 เมตร มีเป็นส่วนน้อยและเฉพาะรถไฟฟ้าความเร็วสูงเท่านั้นที่เป็นทางขนาด 1.435 เมตร



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

10.jpg

ใน ส่วนความเร็วที่ทุกคนกังวลนั้น ยอมรับว่าได้รถไฟวิ่งเร็วๆ ก็น่าจะดี แต่ก็ต้องถามให้คิดต่อไปว่า ทุกวันนี้ชีวิตของคนไทยเรา ได้ทำให้เกิดความจำเป็นขนาดนั้นไหม อย่าลืมว่าโครงการทุกอย่างต้องใช้เงิน ไม่มีของฟรีในโลก เราต้องจัดสรรงบประมาณที่มีจำกัดให้สอดคล้องกับสิ่งต่างๆ ที่เรากำลังวางแผนเพื่อการพัฒนาประเทศ เงิน 1 บาทที่ลงทุนไปกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง ก็หมายถึงเงิน 1 บาทที่อาจนำไปพัฒนาระบบสาธารณสุข หรือระบบการศึกษาได้เช่นกัน ต้องตั้งคำถามว่าทุกวันนี้ชีวิตของคนไทยต้องการความเร็วขนาดนั้นหรือไม่ การพูดว่าคนไทยยังไม่พร้อมจะใช้รถไฟความเร็วสูง ไม่ได้หมายความว่าคนไทยไม่ควรใช้ หรือใช้ไม่ได้ แต่ควรตั้งข้อสังเกตว่า “คนไทยยังไม่เห็นและให้ความสำคัญกับเวลาขนาดนั้น”

ดร.สม พงษ์ ยกตัวอย่างว่า เอาแค่การขับรถยนต์ เรายังไม่นิยมซื้อ Easy pass กันเลย คนขับรถเบนซ์ก็ยังไม่ซื้อ หมายความว่าคนไทยยังมองเวลาด้วยมูลค่าต่ำมาก ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องประเมินสถานะเรื่องรายได้ วิถีชีวิต และความจำเป็นว่าไทยควรจะอยู่ตรงไหน 

“การทำความเข้าใจเส้น ทางรถไฟไทย-จีน ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ในขณะที่รัฐบาลกำลังพยายามเร่งรัดโครงการไทย-จีน หรือไทย-ญี่ปุ่น ตามที่เป็นข่าว ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลก็มีแผนการปรับปรุงเส้นทางรถไฟของการรถไฟฯ เดิมที่เป็นทางเดี่ยว ให้เป็นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร มีแผนเร่งรัดอยู่ มีการศึกษาครบถ้วนแล้ว รอเพียงการผลักดันโครงการให้เป็นรูปธรรมเท่านั้น ประเด็นที่ไม่มีใครตั้งคำถาม ก็คือ ทำไมต้องรีบทำโครงการรถไฟไทย-จีน โดยมีแนวเส้นทางคู่ขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟขนาด 1 เมตรเดิม (ซึ่งในที่สุดจะเปลี่ยนจากทางเดี่ยวไปเป็นทางคู่) เรื่องนี้ไม่ได้รับการพูดถึงและไม่มีนักข่าวคนใดถาม ในเมื่อคุณมีทางคู่ 1 เมตรอยู่แล้ว และคุณก็พยายามทำทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร มีคู่กันไปทำไม? จะทำไปเพื่ออะไร? และความซ้ำซ้อนรวมถึงการใช้เงินล่ะ ยังไม่ต้องพูดถึงมูลค่าตัวรถไฟฟ้า ที่อาจจะต้องซื้อเพิ่มเติมในอนาคต" ดร.สมพงษ์กล่าว

โดย หากเทียบมาตรฐานการทำระบบกลางของยุโรปซึ่งจะมีการ แบ่งแยกให้ชัดเจนว่าจะเป็นรถไฟขนส่งสินค้าและผู้โดยสารแต่ของไทยยังไม่มี ความชัดเจนเพราะรถไฟขนาดราง1เมตรก็อยู่ในแผนเร่งรัดของรัฐบาลชุดนี้ขณะที่ แผนรถไฟไทยจีนอยู่นอกงบประมาณ ซึ่งทางที่ถูกต้องควรจะทำรถไฟขนาดราง1เมตรให้เสร็จและเปิดใช้ให้ดีเสียก่อน

ดร.สม พงษ์ย้ำว่าเมื่อเส้นทางมันซ้อนกันทำไมจึงต้องทำถึง 2 เส้น อันนึงเป็น 1 เมตรอีกอันนึงเป็น 1.435 เมตร เป็นทางคู่ทั้งคู่ และมันก็วิ่งขนานกันเลย

อาจารย์ ทั้งสองท่านตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ทำทางคู่ขนาด 1 เมตรให้เสร็จทั่วประเทศ และทำให้ดีเสียก่อน  หากทางคู่ชุดแรกเสร็จแล้ว ถ้ายังอยากทำต่อจึงค่อยไปทำทางคู่ชุดที่ 2 จะดีกว่าการเดินหน้าสร้างทางคู่ทั้งสองเส้น คู่ขนานกัน จึงมีคำถามว่า ทำไปเพื่ออะไร ทั้งที่รัฐบาลชุดนี้ก็เป็นคนอนุมัติ

เมื่อ ถามว่าจากการศึกษาและติดตามข่าวสาร ทางรัฐบาลให้เหตุผลสำคัญในการก่อสร้างทั้งสองเส้นทางพร้อมกันหรือไม่ อาจารย์ทั้งสองท่านตอบตรงกันว่า "ผมไม่รู้สาเหตุและจากการติดตามก็ไม่เห็นมีใครพูดอะไรเลย"

ดร.ประมวล อธิบายเพิ่มเติมว่าทั้งนี้การผลักดันการสร้างรถไฟขนาดราง1.435เมตรมีมาโดย ตลอดแล้วก็เงียบไปจนกระทั่งเปลี่ยนรัฐบาลแนวคิดดังกล่าวก็ขึ้นมาใหม่และก็ อยู่ที่ว่าจะโดนสกัดหรือไม่หากโดนสกัดก็เงียบๆกันไปและไม่นานก็จะวนกลับขึ้น มาใหม่ ซึ่งตนเคยอธิบายเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วว่ามันไม่เกี่ยวกัน ฉะนั้นคนที่จะคุยเรื่องนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าเรื่องการตกราง สมรรถนะของรถไฟ มันไม่เกี่ยวกับขนาดของราง มันอยู่ที่การดูแล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือข่าวที่ปรากฏ ก็จะบอกแค่ว่ารถไฟขนาดราง 1.435 เมตรดีกว่า เพราะมันกว้างกว่า คนทั่วไปที่ไม่รู้เรื่องก็จะมองว่ารถไฟขนาดราง 1.435 เมตรย่อมดีกว่า ประกอบกับข่าวรถไฟตกรางของ รฟท. ที่เกิดขึ้นบ่อยมาก ทั้งนี้ต้องแยกพิจารณาระหว่างการบริหารการใช้งาน กับตัวเทคโนโลยี หากหน่วยงานผู้บริหารทำไม่ดี ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไรมันก็เจ๊ง

ทั้ง สองท่านยืนยันอีกว่าไทยยังไม่จำเป็นต้องการรถไฟขนาดใหญ่เช่นนั้น และหากทำคู่กัน ก็อาจจะเกิดการขาดทุนได้อีกเพราะรถไฟทั้งสองขนาด ก็แย่งลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ปัญหาของรถไฟไทยที่มีกว่า 4,000 กิโลเมตร คือส่วนใหญ่มันเป็นทางเดี่ยว ถามว่าทางเดียวไม่ดีอย่างไร คือหากเป็น 100 ปีที่แล้วมันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะปริมาณความต้องการใช้มันไม่สูงมาก แต่ในปัจจุบัน เราต้องการใช้รถไฟในการขนสินค้าและขนคน โดยการขนส่งสินค้าเราไม่ต้องการความรวดเร็วแต่เราต้องการความตรงต่อเวลา และขนของได้ตามที่เราต้องการ  ขณะที่การขนส่งคนจะต้องการความรวดเร็ว ฉะนั้นการเพิ่มรถไฟจากทางเดียวเป็นทางคู่จะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งคน และสินค้า ฉะนั้นหากทำทางคู่ได้ปัญหาพื้นฐานทุกอย่างก็ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ในระยะแรกแล้ว ส่วนเรื่องตกรางนั้นเป็นปัญหาการบริหารจัดการ ของการรถไฟฯ

โดย ที่พูดเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าในระยะยาวไม่ต้องการการพัฒนา แต่การประเมินศักยภาพในระยะนี้ก็ต้องดูความคุ้มค่าด้านงบประมาณด้วย เพราะที่อื่นก็ต้องการสร้างทางรถไฟเช่นกัน เงินและทุกอย่างของเรามีจำกัด จึงต้องใช้ทุกบาทให้คุ้มค่า



Attachments
__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ด้าน ดร.สมพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นคนอนุมัติลงมาเอง คำถามคือว่ารัฐบาลไม่เห็นความซ้ำซ้อนหรือ เราควรที่จะเอาเงินไปใช้กับนโยบายสาธารณะอื่นๆที่จำเป็นมากกว่าหรือไม่ ดีกว่าที่จะมาสร้างรถไฟซ้ำซ้อนเส้นทางเดียวกันแบบนี้ ทำไมต้องมาสร้างในที่เดียวกัน พร้อมๆกัน ทั้งที่จังหวัดอื่นก็มีความต้องการเช่นกัน เคยสงสัยเช่นกันว่าทำไมสังคมและสื่อมวลชนไม่ตั้งคำถามเรื่องนี้  ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องตอบคำถามก่อนว่าจะทำแบบนี้ไปทำไม หากตอบคำถามได้แล้ว ยังไม่พูดถึงคำถามที่จะตามมาอีกคือ เราจะเลือกใช้เทคโนโลยีอะไร-อย่างไร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.ประมวลให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บางคนอาจจะไม่รู้ว่ารถไฟสาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ถูกอนุมัติให้สร้างตั้งแต่ปี 2503 จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้สร้างเลย เรื่องนี้สำคัญกว่าเห็นได้ชัด ทำไมถึงไม่เร่งรัด เพราะทำการศึกษามาแล้วหลายครั้ง และสมควรจะต้องสร้างตั้งนานแล้ว กลับยังไม่สร้าง ซึ่งเส้นนี้ ตามแผนญี่ปุ่นจะเป็นคนทำ

"เชื่อว่ารัฐบาลหมดมุกในการพัฒนาเศรษฐกิจ ผมบอกให้เลย ยิ่งเราพูดเรื่องรถไฟมากยิ่งน่ากลัว คือรัฐบาลคิดเรื่องอื่นในทางเศรษฐกิจไม่ได้แล้ว ผมเปรียบเทียบเวลาเราเรียกข้าวกระเพราไก่ไข่ดาวว่าเมนูสิ้นคิด คิดอะไรไม่ออกก็สั่งอย่างนั้น ก็เหมือนกับกรณีของรถไฟ รัฐบาลทุกชุดเวลาเข้ามาใหม่ทุกคนเลย เมื่อคิดอะไรไม่ออกก็จะทำรถไฟความเร็วสูง ไปดูได้เลยทุกชุดเหมือนกันหมด " ดร.สมพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่า คนไทยเชื่อว่าหากมองดูประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศรวมถึงประเทศพัฒนาแล้วก็ล้วนมีรถไฟความเร็วสูงทั้งสิ้น ดร.สมพงษ์ตอบกลับทันทีว่า จนถึงทุกวันนี้แม้จะมีแผน แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง ในอังกฤษก็มีแค่สายเดียวที่ข้ามไปฝรั่งเศสเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่มีรถไฟความเร็วสูงก็เพราะประเทศนั้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง ส่วนที่บอกว่าในประเทศกำลังพัฒนาอาจจะจำเป็นนั้นก็ยืนยันว่าไม่จริง เพราะความเป็นจริงแล้วรถไฟความเร็วสูงเหมาะสำหรับประเทศที่เวลาเป็นสิ่งมีค่า คำถามคือประเทศไทยเวลามีค่าขนาดนั้นหรือยัง ขนาดอีซี่พาสคนยังไม่ซื้อกันเลย เวลาของคนไทยเวลาเดินถนนกับคนต่างประเทศเดินก็ไม่เท่ากันแล้ว เวลาของเราไม่มีค่ามากขนาดนั้น หลักของรถไฟความเร็วสูงคือทุกนาทีมีค่า

ด้าน ดร.ประมวลกล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องรถไฟความเร็วสูงก็ต้องกลับมาถามว่าเราจะทำไปเพื่ออะไร ต้องตอบให้ได้ว่ารถไฟความเร็วสูงมีความจำเป็นกับเมืองไทยอย่างไร ผมไม่อยากไปเถียงหรือชูประเด็นกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งโต้แย้งกับอาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เรื่องต้องให้ทางลูกรังหมดไปจากประเทศไทยก่อนทำรถไฟความเร็วสูง เพราะคนละประเด็นกัน  แต่เราต้องทำความเข้าใจเรื่องข้อจำกัดของงบประมาณ จริงๆ ถ้าได้ทำทุกโครงการพร้อมๆ กันหมด ก็คงจะดี แต่เมื่อชีวิตจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น เราก็ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าเรามีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องทำรถไฟความเร็วสูงขนาดนั้น การนำเงิน 1 ก้อนไปสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ใช้บ่อยๆ กับการนำเอาเงินก้อนนั้นมาปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่คนส่วนใหญ่ของสังคมจะได้ใช้งาน เช่น รถเมล์ ซึ่งเราใช้กันทุกวันไม่ดีกว่าหรือ รถเมล์เราใช้ทุกวัน เด็กเล็กๆก็ใช้ทุกวัน รถไฟความเร็วสูงบางคนหลายปีกว่าจะได้ไปเชียงใหม่ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงสักครั้งนึง เราไม่รู้สึกอะไรเลยหรือ ในทุกๆ เช้า ที่ยังต้องเห็นเด็กนักเรียนโหนอยู่ตามท้ายรถสองแถว ซ้อนอยู่หลังมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เบียดแน่นกันอยู่บนรถเมล์ มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าคนส่วนใหญ่ยังมีชีวิตด้วยคุณภาพแบบนั้น ในขณะที่มีคนอีกกลุ่มเล็กๆ ได้นั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูง

ทั้งนี้ หากเราไม่ปรับปรุงรถเมล์หรือระบบคมนาคมในเมือง ดร.สมพงษ์ยกตัวอย่างว่าราก็จะเจอกับภาพคนใส่สูทนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงและมาต่อ วินมอเตอร์ไซค์นั่นเอง ประเทศที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น จริงๆแล้วระบบขนส่งสาธารณะพื้นฐานมันต้องดีมากๆ ยุโรปที่ทำได้นั้น เพราะระบบขนส่งสาธารณะดีมาก ไม่ได้บอกว่าความเร็วสูงไม่ดี แต่ต้องดูความพร้อมหลายอย่าง รวมถึงความจำเป็นด้วย

"ยกตัวอย่างว่ารถเบนซ์กับกระบะอะไรดีกว่ากัน ในแง่เทคโนโลยี แน่นอนทุกคนก็คงจะตอบว่ารถเบนซ์สิดีกว่า แต่ถ้าสมมติเราเป็นเกษตรกร อะไรจะมีประโยชน์กับเรามากกว่ากันล่ะ นี่คือคำถามที่เราจะถามต่อ" ดร.ประมวลกล่าวเพิ่มเติม

จึงเป็นเรื่องของสังคมไทยที่มีมายาคติผิดๆ เยอะมาก เวลารัฐบาลพูดเรื่องการพัฒนาประเทศจะยกเรื่องโครงสร้างพื้นฐานว่าเป็นเรื่อง สำคัญในการพัฒนาและจะทำให้อันดับการพัฒนาของเราดีขึ้นแต่ในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมอย่างเดียวไม่ได้ทำให้อันดับการพัฒนาเรา ดีขึ้นเลยเพราะการพัฒนาที่แท้จริงจะต้องมองอย่างองค์รวมกล่าวคือการจัด อันดับการพัฒนาเขามองการพัฒนาโครงสร้างเรื่องอื่นด้วยเช่นเรื่องการศึกษาการ พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเป็นต้นซึ่งเมื่อ เรามีเงินเรากลับทุ่มไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเดียวที่พูดมาทั้งหมดอยู่บนสมมติฐานที่ว่าประเทศไทยไม่มีเงินเหลือเฟือ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ดร.สมพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่าประเด็นสำคัญอันหนึ่งซึ่งเป็น เบื้องหลังในการผักดันรถไฟสายดังกล่าวคือการพยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการค้าขายกับจีนไม่มีใครตั้งคำถามว่าทำไมจีนจึงอยากทำที่อ้างว่า จะทำให้เราส่งสินค้าไปประเทศจีนง่ายขึ้น-รวดเร็วขึ้นนั้นในความเป็นจริงตรง กันข้ามเลยเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือรถส่งสินค้าของจีนนำสินค้าเข้า มาตีตลาดในประเทศไทยซึ่งต้องไม่ลืมว่าสินค้าของจีนมีราคาถูกและปริมาณ มากกว่าไทยเยอะมากนอกจากนี้จีนยังซื้อที่หรือเช่าที่ในประเทศลาวเป็นระยะ เวลาเกือบ90 ปีในการทำการเกษตร เพื่อผลิต ปัญหาเรื่องนี้คือไทยไม่เตรียมความพร้อมเรื่องอื่นเลย ไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอย่างไร สนใจแต่การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน  แต่จีนกับเตรียมความพร้อมทุกด้าน และคำถามสำคัญที่สุดคือหากทำเสร็จสินค้าไทยจะไปจีน หรือสินค้าจีนจะมาไทยมากกว่ากัน อย่าลืมว่าสินค้าจีนบางอย่างดีกว่า และสินค้าไทยจะอยู่ได้ไหม

11.jpg

ปัจจุบันเราเห็นข่าวแล้วว่ามีคนจีนมาเปิด ร้านขายของเองที่สำเพ็ง-ตลาดไทแล้วเป็นต้นเรื่องนี้ไม่ใช่การใช้ความรู้สึก แต่เป็นการตั้งคำถามและไม่ได้ต้องการโทษจีนเพราะเข้าใจว่ามันจำเป็นต้องทำ หากตนเป็นรัฐบาลจีนและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักก็จำเป็นต้องหาช่องทางในการ ส่งออกแต่ไทยจำเป็นต้องรู้ทันเพราะการเชื่อมโยงโดยไม่มียุทธศาสตร์เป็น เรื่องที่น่ากลัว

เมื่อถามถึงประเด็นการต้องเร่งทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคนั้น ดร.สมพงษ์ตอบคำถามเรื่องนี้ว่า ในความเป็นจริงแล้วความเป็นศูนย์กลางเป็นเรื่องสัมพัทธ์ หากฟังจากรัฐบาลไทยก็จะบอกว่าไทยเป็นศูนย์กลางได้ แต่ในความเป็นจริงทุกประเทศเป็นศูนย์กลางได้หมด หากใช้ตรรกะดังกล่าว เมียนม่ามีความเป็นศูนย์กลางที่ดีมากกว่าไทยเสียอีก เพราะด้านซ้ายของเมียนม่าก็เป็นอินเดีย มีประชากรกว่าพันล้านคน ด้านบนก็ติดกับจีนมีประชากร พันล้านคนเช่นกัน ขณะที่ด้านขวาติดกับอาเซียนซึ่งมีประชากร 600 ล้านคน คำถามคือใครเป็นศูนย์กลางมากกว่ากัน

อาจารย์วิศวะ จุฬาฯ ทั้งสองท่านยืนยันว่ารัฐบาลต้องตอบคำถามว่าทำไม รัฐบาลต้องเร่งสร้างรถไฟความร่วมมือไทย-จีน ทั้งที่มีการเร่งแผนพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดราง1 เมตรโดย รฟท.แล้ว เพราะหากจะอ้างเรื่องความปลอดภัย และสมรรถนะนั้น ยืนยันว่ารถไฟขนาดราง 1 เมตรก็สามารถทำให้ดีได้ หากมีการดูแลรักษาระบบรางที่ดี อ.จุฬาฯทั้งสองท่าน กล่าวทิ้งท้ายว่า

ในฐานะนักวิชาการจึงรู้สึกเป็นห่วงและเห็นว่าหากจะตัดสินใจอะไรต้องคิด และเป็นห่วงลูกหลานในอนาคต แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ การจะตีปี๊บและรีบเร่งจะทำให้ได้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ยืนยันว่าการพัฒนาชาติเป็นเรื่องดี นักวิชาการไม่ได้ขวางการพัฒนา แต่จำเป็นต้องถามเรื่องวิธีการที่ทำ เป็นความยั่งยืนและนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าจริงหรือเปล่า เบื้องต้น น่าจะจำเป็นต้องมีการปฏิรูปด้านโครงสร้างการบริหารอย่างเร่งด่วน รวมถึงเห็นว่าสังคมทั้งสังคมจะต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดคุยด้วยเหตุผลเสียที



Attachments
__________________


Guru

Status: Offline
Posts: 624
Date:
Permalink   
 

ຜົລປະໂຫຍດຂອງ ບັກເຈັກແປະ ຫວັງໂກງກິນນຳໂຄງການ

ຢຶດດິນຂອງປະຊາຊົນ ທີ່ຖືກຕັດຜ່ານ ແລ້ວເອົາໄປຂາຍຕໍ່

ໃຫ້ນາຍທຶນຕ່າງຊາດ ນີ້ຄືສັນດານຊົ່ວຂອງມັນ

เรื่อง รถไฟความเร็วสูงก็ต้องกลับมาถามว่าเราจะทำไปเพื่ออะไร ต้องตอบให้ได้ว่ารถไฟความเร็วสูงมีความจำเป็นกับเมืองไทยอย่างไร ผมไม่อยากไปเถียงหรือชูประเด็นกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งโต้แย้งกับ อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เรื่องต้องให้ทางลูกรังหมดไปจากประเทศไทยก่อนทำรถไฟความเร็วสูง เพราะคนละประเด็นกัน  แต่เราต้องทำความเข้าใจเรื่องข้อจำกัดของงบประมาณ จริงๆ ถ้าได้ทำทุกโครงการพร้อมๆ กันหมด ก็คงจะดี แต่เมื่อชีวิตจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น เราก็ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าเรามีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องทำรถไฟความ เร็วสูงขนาดนั้น การนำเงิน 1 ก้อนไปสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ใช้บ่อยๆ กับการนำเอาเงินก้อนนั้นมาปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่คนส่วนใหญ่ของสังคมจะได้ใช้งาน เช่น รถเมล์ ซึ่งเราใช้กันทุกวันไม่ดีกว่าหรือ รถเมล์เราใช้ทุกวัน เด็กเล็กๆก็ใช้ทุกวัน รถไฟความเร็วสูงบางคนหลายปีกว่าจะได้ไปเชียงใหม่ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงสัก ครั้งนึง เราไม่รู้สึกอะไรเลยหรือ ในทุกๆ เช้า ที่ยังต้องเห็นเด็กนักเรียนโหนอยู่ตามท้ายรถสองแถว ซ้อนอยู่หลังมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เบียดแน่นกันอยู่บนรถเมล์ มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าคนส่วนใหญ่ยังมีชีวิตด้วยคุณภาพแบบนั้น ในขณะที่มีคนอีกกลุ่มเล็กๆ ได้นั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูง

ทั้งนี้ หากเราไม่ปรับปรุงรถเมล์หรือระบบคมนาคมในเมือง ดร.สมพงษ์ยกตัวอย่างว่า เรา ก็จะเจอกับภาพคนใส่สูทนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงและมาต่อ วินมอเตอร์ไซค์นั่นเอง ประเทศที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น จริงๆแล้วระบบขนส่งสาธารณะพื้นฐานมันต้องดีมากๆ ยุโรปที่ทำได้นั้น เพราะระบบขนส่งสาธารณะดีมาก ไม่ได้บอกว่าความเร็วสูงไม่ดี แต่ต้องดูความพร้อมหลายอย่าง รวมถึงความจำเป็นด้วย

"ยก ตัวอย่างว่ารถเบนซ์กับกระบะอะไรดีกว่ากัน ในแง่เทคโนโลยี แน่นอนทุกคนก็คงจะตอบว่ารถเบนซ์สิดีกว่า แต่ถ้าสมมติเราเป็นเกษตรกร อะไรจะมีประโยชน์กับเรามากกว่ากันล่ะ นี่คือคำถามที่เราจะถามต่อ" ดร.ประมวลกล่าวเพิ่มเติม



__________________
Anonymous

Date:
RE: ສອງ ອາຈານ ຈຸລາ ວິເຄາະ ຜົລໄດ້ຜົລເສັຍ ຈາກ "ຣົຖໄຟ ໄທຍ-ຈີນ"
Permalink   
 


ໄທເຖິງຈະປົກຄອງດ້ວຍລະບອບຣາຊາທິປະໄຕ ແຖມຍັງມີອຳນາດທະຫານປົກຄອງຊຶ່ງຜິດ

ກັບຊື່ມ່ວນຫູດັ່ງສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ ແຕ່ບໍ່ມີໃຜໄດ້ຮັບສິດປະຊາທິ

ປະໄຕດັ່ງກ່າວມາເວົ້າວ່າວິໃຈວິຈານບັນຫາໃດນຶ່ງບໍ່ວ່າໃນວົງນອກກໍ່ຄືວົງໃນເຊັ່ນໃນເວທີຂອງ

ສະພາແຫ່ງຊາດທີ່ວ່າຜູ້ແທ່ນເປັນຜູ້ຕາງໜ້າປະຊາຊົນບັນດາເຜົ່າທີ່ເລືອກເອົາກໍ່ບໍ່ສາມາດເວົ້າ

ຫຼືທັກທ້ວງການກະທຳຂອງ ພັກ-ລັດ ທີ່ໄປສ້າງຄວາມເສຍຫາຍແລະແຕະຕ້ອງສິດຜົນປະໂຫຍດ

ຂອງປະຊາຊົນກໍ່ຄືຂອງຊາດ ແມ່ນ ເປີະ ດັ່ງທ່ານ ຄຳເຜີຍ ປານສະໄລທອງ ແລະ ສສ ຄົນອື່ນໆ

ທີ່ເຮັດໜ້າທີ່ຂອງຕົນດ້ວຍຈິດໃຈຮັບຜິດຊອບຕໍ່ປະຊາຊົນກໍ່ຄືຊາດຕາມຂໍ້ບັງຄັບຂອງກົດໝາຍ

ທີ່ບັນຍັດໄວ້ໃນລັດຖະທຳມະນູນ, ແຕ່ໄປແຕະຕ້ອງຜົນປະໂຫຍດກ້ອງໂຕະຂອງ 11 ພະຍາແລ້ວ

ແມ່ນອະນາຄົດຂອງຄົນພວກນີ້ບໍ່ແຈ່ມໃສ.

ຄືແນວນີ້ຂໍໃຫ້ 11 ພະຍາດ ຫວນພິຈາລະນາກ່ອນຈະໄປກ່າວຫາວ່າລະບອບອື່ນບໍ່ດີແນວນັ້ນແນວນີ້

ເພາະມັນເປັນເລື້ອງອັບອາຍຂາຍໜ້າ.



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard